Latest Movie :
Recent Movies




การบรรเทา โคลิกโดยใช้การนวดแบบ เสืออยู่บนต้นไม้

การบรรเทา โคลิกโดยใช้การนวดแบบ เสืออยู่บนต้นไม้  

1.ยกลูกขึ้นมา ประคองด้านหน้าของลูกด้วยแขนซ้าย โดย ให้หลังพิงลำตัวเรา

2.ประคองท้องลูก สอดมือขวาระหว่างเข่า ลูกแล้วกางฝ่ามือและแผ่นิ้วบนท้องลูกเก็บเท้าขวาลูกเข้าใต้แขน

3.นวดท้อง พลิกลูก  ให้น้ำหนักอยู่บน มือขวา แล้วนวดท้องลูก อย่าง นุมนวล




โคลิก อาการปวดเฉียบที่ท้อง หมายถึงการร้องให้เป็นพัก ๆ   เป็นระยะเวลานานโดยไม่สัมพันธ์ กับความหิว หรือ ความปกติ อื่นๆ  คาดว่า ทารก ร้อยละ 20 % เกิด อาการนี้  ใน ช่วงเกิด อาการ ทารกที่พอใจในสภาพของตนเองอยู่ ดีๆ  ก่อนหน้านี้ จะชันเข่าขึ้นหาหน้าท้องของตน กำหมัด และเริ่ม กรีดร้อง อย่างกระทันหัน   ตามปกติ ช่วงเวลาที่กรีด ร้อง เช่นนี้ จะเริ่ม เมื่อ 2-4 สัปดาห์  ช่วงเวลา และความรุนแรง จะค่อยๆ เพิ่มขึ้น และ สูงสุด เมื่อ อายุ ประมาณ  6-8 สัปดาห์   การดูแล โดยสัมผัสทางกายยังคงเป็นวิธีที่ดีที่สุด ที่ช่วยบรรเทาความทุกข์ ของลูก  

สาเหตุ ที่อาจเป็น ได้ 

ไม่มีใครทราบสาเหตุ ที่แน่ชัด ว่าเหตุใดเด็กทารก จึงเป็น โคลิก  มีการพูดถึง การแพ้นม  ความไม่เจิรญเต็มวัย ของลำใส้ แก้ส ความเหนื่อยมากเกินไป ๅความดันบนศรีษะ แบคทีเรียในลำใส้  พ่อแม่ไม่ตอบสนอง ต่อความต้องการอย่างเหมาะสมคาดใ่า โคลิกไม่ได้เกิดจากสาเหตุเพียงประการเดียว แต่เกิดจากหลายสาเหตุ  ยังไม่มีการระบุสาเหตุ อย่างใด แน่ชัด ../.

น้องโอห์ม ได้ เตียง ใหม่ เตียงเด็ก เปลเพน จาก Camera Baby 27/03/2557

 น้องโอห์ม ได้ เตียง ใหม่  








 ทดสอบ นอน หลับ บาย เลย ...




เป็น เตียงนอนสำหรับเด็ก แรกเกิดถึง 5 ขวบ เคลื่อนย้ายสะดวก มาพร้อมกับ โมบาย เครื่องสั่น กล่องเพลง ที่เปลี่ยนผ้าอ้อม มุ้ง และกระเป๋าเก็บ

คุณสมบัติ เตียงเด็ก Camera Baby Playpen C-P524BE
      เตียงเด็ก Camera Baby Playpen C-P524BE• เตียงเด็ก เปลเพน คุณภาพ รับประกัน 2ปี มีสี ฟ้า, แดง และเขียว
• มีเครื่องสั่น เพลง และ โมบายใส่ถ่านหมุนได้
• มีชุดเก็บผ้าอ้อมและช่องเก็บของแขวนด้านข้างเตียง
• ปรับให้เป็นเปลโยกได้
• ผ้ามุ้งกันยุงและแมลง
• ที่เปลี่ยนผ้าอ้อมสามารถถอดเก็บได้
• มีล้อสำหรับเข็นเคลื่อนที่ และล็อคให้อยู่กับที่ได้
• น้ำหนักเตียง 15 กิโลกรัม


IRONPEN PLUS Playpen - CAMERA BABY
Advanced Version model of IRONPEN model, fashionable "CAMERA" Signature fabrics. Not only can CAMERA Baby Play Pen's IRONPEN "PLUS" model give your baby comfort, and safe, also come with a full sets of entertainment - 3 fabric toys, and vibration music light box. It has a strong and stable steel frame and fabrics mesh bring your baby's comfortable. Coming with the luxurious 4-pole mosquito net protects your baby away from the mosquito and other insects. Easy to set up and fold-and-carry function let you carry to Chill out anywhere. Rocking function let smoothly swings and safe.
KEY FEATURES

    Entertainment Sets: Vibration Music and Light, Fabric Toys
    Fashionable "CAMERA" Signature Fabrics
    Large and roomy fits from birth - 5 years old.
    Easy to Fold and unfold for use anywhere and anytime
    Strong and Durable frame and sustantial fabrics
    Convenient to carry with carrying bag


วันที่ 3 ออกจากโรงพยาบาล วันศุกร์ ที่ 7 มีนาคม 2557 เวลา 13.45 น.

วันที่ 3 ออกจากโรงพยาบาล  วันศุกร์ ที่ 7 มีนาคม 2557 เวลา 13.45 น.

ก่อน ออก    ขอ ใบ สูติบัตร ที่ เทศบาล นครหาดใหญ่  ต้องนำ สำเนาบัตรประชาชน แม่ พ่อ  ทะเบียนบ้าน  เอกสาร จาก โรงพยาบาล มอ.  

เสร็จ แล้ว กลับมาติดต่อ แผนก เวชกรรม ช่อง 2 ทำบัตร    เสร็จ ขน ของกลับบ้าน ..  





เล่าประสบการณ์พาลูกน้อยกลับบ้านหลังคลอด

หลังจากระยะเวลาการพักฟื้นหลังคลอดที่โรงพยาบาลสิ้นสุดก็ถึงเวลาพาลูกน้อยกลับบ้าน เรียกได้ว่าเป็นก้าวสำคัญที่เราจะได้ดูแลลูกอย่างเต็มตัว แต่การพาลูกกลับบ้านของเราเรียกได้ว่าล้มเหลวไม่เป็นท่าจนต้องบอกว่าเราทั้งคู่สอบตกวิชาพ่อแม่มือใหม่

เวลาอยู่ที่โรงพยาบาลฉันและสามีพยายามใช้เวลาอยู่กับลูกให้มากที่สุดเพื่อพยายามสร้างสายใยรักตลอดจนฝึกดูแลลูก เวลากลับบ้านจะได้ทำทุกอย่างราบรื่นตามที่พยาบาลสอน แต่ก็ไม่เป็นไปตามแผนที่วางไว้เลย ต่อให้หาข้อมูลรองรับสถานการณ์จริงแล้วก็ยังไม่มีประสบการณ์อยู่ดี

วันแรกที่พาลูกกลับบ้านลูกนอนอีกทีตอนเช้าวันรุ่งขึ้น เราออกจากโรงพยาบาลเวลาบ่ายโมงตรง ใช้เวลาหนึ่งชั่วโมงในการเดินทางกลับบ้าน ระหว่างนั้นลูกหิวนมแต่สามีบอกว่าถึงบ้านค่อยให้ลูกกินนมเพราะถ้าเอาลูกออกจากคาร์ซีทเวลาขับรถไม่ปลอดภัย ลูกเลยตื่นตลอดทางกลับบ้าน

พอมาถึงบ้านก็รีบให้ลูกดูดนมแต่ตอนนั้นน้ำนมยังไม่มา ฉันพยายามใจแข็งให้ลูกดูดกระตุ้นโดยหลีกเลี่ยงการใช้นมผงที่โรงพยาบาลให้มาให้นานที่สุด ลูกไม่ร้องไห้แต่ลูกไม่นอน ฉันเลยให้ลูกอยู่นิ่ง ๆ สักพักระหว่างช่วยสามีจัดของเข้าที่

จากนั้นเราก็มาเตรียมของใช้ให้ลูกจึงรู้ว่าน้ำต้มสุกทิ้งไว้ให้เย็นสำคัญมากขนาดไหนเพราะที่โรงพยาบาลจะใช้แต่น้ำต้มสุกตลอด พ่อแม่มือใหม่อย่างเราพอพยาบาลสอนอะไรมาก็จะทำตามทุกอย่าง แต่ที่บ้านไม่มีเลยรีบเสียบกระติกน้ำร้อน พอน้ำเดือดก็ทิ้งไว้ให้เย็น เรื่องวุ่นวายเพราะน้ำต้มสุกก็เลยเกิดขึ้นเพราะต้องอาบน้ำให้ลูก น้าของฉันจึงให้พี่ฝ่ายบัญชีที่เคยมีลูกมาสอนอาบน้ำลูก แม้ว่าพยาบาลจะสอนมาแล้วแต่ในวันนั้นเรียกได้ว่าพี่เขามาอาบน้ำให้ลูกของฉันเลย เราต้องใช้สำลีชุบน้ำต้มสุกที่เย็นแล้วเพื่อมาเช็ดตาลูก น้ำก็กำลังต้มอยู่ สำลีก็ไม่มี มีแต่ทิชชูเช็ดก้นเด็ก เพราะฉันไม่เคยเห็นพี่สะใภ้ของฉันใช้สำลีเลย โชคดีน้ารีบขี่มอเตอร์ไซค์ไปซื้อสำลีมาให้ แต่น้ำยังร้อนอยู่ ฉันถือว่าฉันทำพลาดไปแล้วหนึ่งอย่าง แถมยังไม่ได้เตรียมเสื้อผ้าเอาไว้ให้ลูกหลังอาบน้ำอีก แล้วจะใส่ชุดไหนละเนี่ยมีเต็มลิ้นชักไปหมด ฉันช้ามากลูกก็อยู่ในผ้าห่อตัว แผล (ผ่าคลอด) ก็ตึง เฮ้อเป็นลูกฉันนี่น่าสงสารจริง ๆ

นอกจากจะใช้สำลีเช็ดตาลูกแล้ว ระหว่างอยู่ที่โรงพยาบาลเรายังใช้สำลีเช็ดก้นลูกด้วย แต่ฉันยังไม่ได้เตรียมเพราะน้ำยังไม่เย็น ระหว่างนั้นก็ต้องหากล่องมาใส่สำลีเปียกเตรียมไว้ ฉันรู้สึกว่าการอาบน้ำลูกวันนี้เหนื่อยมากหรือเพราะไม่รู้จะเริ่มจากตรงไหนมันเลยเหนื่อยประกอบกับร่างกายยังไม่ฟื้นตัวเต็มที่ก็ไม่รู้

ลูกเริ่มร้องหานม ฉันก็ให้ลูกดูดกระตุ้นอีกหลายต่อหลายครั้งลูกก็หลับ ๆ ตื่น ๆ ทุก ๆ 5 นาที เรียกว่าเอาออกจากเต้าปุ๊บก็ตื่นปั๊บ เวลาล่วงเลยไปเป็นเที่ยงคืนแล้ว สามีบอกว่าเราต้องยอมให้ลูกกินนมผงแล้วละ เพราะเรายังไม่มีนมแม่ให้ลูก ลูกก็ร้องแล้วก็ยังไม่นอนเลย เราเลยตัดใจให้นมผงลูกไป 2 ออนซ์ ในที่สุดลูกก็นอนหลับสบายตอนตีหนึ่งครึ่ง ทีนี้หลับยาวแล้ววันรุ่งขึ้นก็หลับตลอดทั้งคืนทั้งวัน สงสัยลูกคงจะเพลียมาก

ฉัน สามี และน้ามาประเมินผลของการพาลูกกลับบ้านกันวันแรกเรียกว่าเราสอบตกเพราะเราจะทำอะไรก็งง ๆ และชักช้าเสียเหลือเกิน ฉันรู้สึกแย่ที่ลูกหิวและตื่นนอนเกือบ 12 ชั่วโมง ในทางกลับกัน น้าบอกว่าเราทำได้ดีแล้ว นอกจากนี้น้ายังชื่นชมที่ฉันกับสามีเตรียมข้าวของให้ลูกตั้งแต่เนิ่น ๆ จะได้ไม่ฉุกละหุ แม้ว่าตอนแรกครอบครัวของฉันจะไม่เห็นด้วยก็ตาม


วันที่ 2 ของผม ที่ โรงพยาบาล


มี คนมาเยี่ยม เยอะเเยะ เลย ครับ ...  นมแม่ก็ ยังไม่ไหล 

ต้องคอยกระตุ้น   2 ช.ม. ครั้ง  ข้างละ 15 นาที    พยายาม ให้ น้อง ดุด นม เรื่อยๆ






หลังคลอด น้ำนมยังไม่ไหล ทำอย่างไรดี?

ส่วนหนึ่งจากหนังสือ ถาม – ตอบ  เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ตอน..เมื่ออยู่โรงพยาบาล

การที่น้ำนมมาเร็วหรือช้าขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่าง  คุณแม่บางคนเริ่มมีน้ำนมตั้งแต่สามเดือนสุดท้ายของการตั้งครรภ์ แต่ส่วนใหญ่เริ่มมีในระยะหลังคลอด น้ำนมที่หลั่งในช่วงแรกจะมีสีเหลืองข้น เรียกว่า หัวน้ำนม

ในระยะ 1-2 วันแรกหลังคลอด น้ำนมมาน้อยเป็นเรื่องปกติ คุณแม่อย่าเครียดหรือกังวลมากเกินไปเพราะลูกมีน้ำและอาหารสะสมมาตั้งแต่อยู่ในครรภ์ จึงยังไม่ต้องการน้ำนมมากในช่วงแรก ไม่จำเป็นต้องให้นมเสริม ยกเว้นในทารกที่มีปัญหา เช่น

- ทารกน้ำหนักแรกเกิดน้อยหรือเกิดก่อนกำหนด (มีพลังงานสะสมน้อย)

  - ทารกน้ำหนักแรกเกิดมาก (ต้องการพลังงานมาก)

  - ทารกที่มีปัญหาสุขภาพอื่นๆ

วิธีช่วยให้น้ำนมมาเร็วและมีมากขึ้นทำได้ไม่ยาก เพียงทำตามหลัก 3 ดูด คือ

ดูดเร็ว  เริ่มให้ลูกดูดนมเร็วภายใน 1 ชั่วโมงหลังคลอด

ดูดบ่อย  ควรให้ลูกดูดนมบ่อยตามที่ลูกต้องการ  ประมาณวันละ 8 ครั้งขึ้นไป แต่ใน 1 - 2 วันแรก ลูกอาจยังง่วงอยู่ ปลุกแล้วก็ยังไม่ค่อยอยากตื่น อาจจะรอสักครึ่งชั่วโมงแล้วปลุกใหม่ แต่ถ้ายังไม่ตื่นอีก แบบนี้อาจต้องให้พักก่อน แล้วค่อยเริ่มให้ดูดใหม่ในมื้อถัดไปเมื่อลูกตื่น ยิ่งลูกตื่นตัวดีเขาก็จะดูดนมได้ดี  และช่วงที่ลูกยังไม่ดูดนม คุณแม่ก็อย่าลืมบีบน้ำนมออกบ่อยๆ เพื่อกระตุ้นการสร้างน้ำนมด้วย

ดูดอย่างถูกวิธี โดยให้ลูกอมงับลานนมให้ลึกพอ และดูดจนเกลี้ยงเต้า


ที่สำคัญ คุณแม่ต้องรับประทานอาหาร และดื่มน้ำให้เพียงพอ ทำจิตใจให้สบาย ไม่เครียดหรือกังวล เพราะความเครียดเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้น้ำนมมาช้าด้วยเช่นกัน

รูป วันแรก ของ ผม ครับ ..



เลขที่บัตรโรงพยาบาล -

ชื่อ - นามสกุล   ดช.ชวัลวิทย์ สุวรรณมณี  ชื่อเล่น   โอห์ม
วัน เดือน ปี เกิด  4 มีนาคม 2557  เวลา   22.39 น.
สถานที่ เกิด  โรงพยาบาลสงขลานครินทร์
วิธีการคลอด  ผ่าท้องคลอด   ภาวะแทรกซ้อน   ไม่มี
น้ำหนักแรกเกิด  2,782  กรัม   ความยาว  48  ช.ม.    รอบศรีษะ   33 ซ.ม.


รูป วันแรก ของ ผม ครับ ..



7 ข้อห้าม หลังคลอด สำหรับคุณแม่และคุณลูก

ข้อห้ามสำหรับคุณแม่

หลาก หลายข้อห้ามนี้ก็เพื่อรักษาให้สุขภาพร่างกายคุณแม่กลับมาแข็งแรงโดยเร็ว ยิ่งอยู่ในช่วงให้นมลูกแม่ต้องระวังรักษาสุขภาพมากเป็นพิเศษเพราะสิ่งที่แม่ กินจะถ่ายทอดผ่านทางน้ำนมแม่ไปถึงลูกด้วย

1.ห้ามเครียด (เกินเหตุ)

นอกจาก จะทำให้น้ำนมน้อยแล้ว ความเครียดส่งผลกระทบต่ออารมณ์และจิตใจ ซึ่งลูกซึมซับและสัมผัสได้จากแม่โดยตรง โดยเฉพาะช่วงหลังคลอดคุณแม่อาจจะเกิดอาการซึมเศร้าหลังคลอดได้ (หากเป็นนานกว่า 4 สัปดาห์ควรพบคุณหมอค่ะ)

คำแนะนำ :

ทาง ที่ดีคุณแม่ควรจะหาผู้ช่วยมาแบ่งเบาภาระต่างๆ เช่น งานบ้าน การดูแลลูกคนโต ฯลฯ เพื่อที่แม่จะได้มีเวลาพักผ่อนและอยู่กับตัวเอง ซึ่งจะช่วยให้ร่างกายผ่อนคลายทำให้ไม่เครียดจนเกินไปด้วยค่ะ



2.ห้ามกินของแสลง

งด กินอาหารประเภทหมักดอง อาหารค้างคืน อาหารที่มีสารปรุงแต่ง เพราะอาจจะทำให้ท้องเสีย เสาะท้อง หรือท้องอืดได้ง่าย ส่วนยาหรือสมุนไพรที่อวดอ้างว่ามีสรรพคุณช่วยเพิ่มน้ำนมหรือเร่งให้มดลูก เข้าอู่เร็วไม่ควรกิน เพราะอาจจะมีส่วนผสมของสารสเตียรอยด์ ยิ่งอยู่ในช่วงให้นมสิ่งที่แม่กินเข้าไปก็จะถ่ายทอดไปยังลูกด้วยค่ะ

คำแนะนำ :

เลือกกินอาหารให้ครบ 5 หมู่ เน้นผักและผลไม้ รวมถึงดื่มน้ำสะอาดเป็นประจำ

3.ห้ามออกกำลังกาย (หนัก)

การ ออกกำลังกายที่หนักหน่วงรุนแรง โดยเฉพาะบริเวณหน้าท้องอาจจะส่งผลกระทบต่อมดลูก ช่องคลอดและฝีเย็บ นอกจากนั้นการขยับเขยื้อนร่างกายอย่างรุนแรงและบ่อยครั้งในช่วงนี้จะทำให้ มดลูกต่ำ



คำแนะนำ :

หาก ต้องการออกกำลังกายควรทำอย่างค่อยเป็นค่อยไป และเลืคลอดคลอดไปแล้ว ประมาณ 2-3 วัน ส่วนคุณแม่ผ่าคลอดคงต้องรอจนครบ 1 เดือนหรือให้แผลผ่าตัดสมานกันสนิทแล้วจึงเริ่มออกกำลังกายได้ค่ะ

4. ห้ามยกของหนัก

อย่า เพิ่งโชว์พลังยกของหนักเลยค่ะ เพราะการออกแรงยกของหนักจะต้องเกร็งกล้ามเนื้อบริเวณหน้าท้อง ซึ่งอาจจะกระทบกระเทือนกับแผลผ่าคลอดหรือมดลูก โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าคุณแม่ผ่าคลอดยิ่งต้องระวังให้มากเพราะแผลผ่าคลอดอาจจะ ปริ ฉีดขาดได้ค่ะ

คำแนะนำ :

ปกติแล้วหลังคลอด 1 เดือน ทั้งแผลผ่าคลอดและมดลูกจึงจะกลับมาเข้าที่และแข็งแรงขึ้น ดังนั้นช่วงนี้งานหนักหรือเรื่องยกของต่างๆ ต้องปล่อยให้เป็นหน้าที่ของคุณพ่อไป คุณแม่เลี้ยงลูกให้นมแม่ก็พอแล้วค่ะ

5.ห้ามมีเซ็กซ์

การ มีเซ็กซ์หลังคลอดในช่วงที่ฝีเย็บยังไม่แห้งสนิทและน้ำคาวปลายังไหลอยู่ นอกจากจะไม่น่าอภิรมย์แล้ว ขณะร่วมเพศอาจจะเจ็บ แผลฉีกขาด เกิดการติดเชื้อได้ด้วย ซึ่งไม่เป็นผลดีต่อสุขภาพคุณแม่อย่างแน่นอน

คำแนะนำ :

ให้คุณพ่ออดใจรอหลังคลอดอย่างน้อย 6 สัปดาห์ เรียกว่าเป็นการรอให้ร่างกายกลับเข้าสู่สภาพปกติ แล้วยังถือเป็นการคุมกำเนิดอย่างธรรมชาติที่สุด เพราะคุณแม่บางคนหลังคลอด 4-5 สัปดาห์ก็เริ่มมีไข่ตกแล้ว หากตั้งครรภ์ช่วงนี้จะไม่ดีต่อสุขภาพแม่ค่ะ เพราะจะทำให้ร่างกายไม่ได้พักผ่อน

6.ห้ามดื่มแอลกอฮอล์

หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมแอลกอฮอล์ทุกชนิด เพราะนอกจากแอลกอฮอล์จะส่งผลให้เกิดความดันโลหิตสูงแล้ว หากอยู่ในช่วงให้นมลูกอยู่แอลกอฮอล์ยังปนออกมากับน้ำนมแม่ นอกจากนั้นการดื่มแอลกอฮอล์ 1 แก้วจะทำให้ปริมาณน้ำนมลดลงถึง 23 % และการดื่มมากกว่า 2 แก้ว อาจจะยับยั้งปฏิกิริยาน้ำนมพุ่งด้วย นอกจากนั้นยังมีงานวิจัยพบว่าการดื่มเป็นประจำทุกวันจะมีผลทำให้ลูกน้ำหนัก ขึ้นช้าและกล้ามเนื้อมัดใหญ่พัฒนาช้าลงด้วยนะคะ

คำแนะนำ :

ดื่มน้ำสะอาด นมและน้ำผลไม้ จะช่วยสร้างความสดชื่นและมีประโยชน์กับสุขภาพมากกว่าเครื่องดื่มที่ทำให้มึนเมาทุกชนิดค่ะ

7.ห้ามใช้ยา

งด ใช้ยากลุ่มรักษาสิว ยาปฏิชีวนะ ยาที่มีส่วนผสมของสเตียรอยด์ ยากระตุ้นฮอร์โมน หรือยารักษาโรคประจำตัว ฯลฯ รวมไปถึงยาที่อยู่ในกลุ่มสารเสพติด เช่น ยานอนหลับ ยาแก้ปวด ชนิดต่างๆ เพราะจะถ่ายทอดไปถึงลูกผ่านทางน้ำนมค่ะ

คำแนะนำ :

หากคุณแม่จำเป็นต้องกินยาควรปรึกษาคุณหมอก่อนทุกครั้ง เพื่อป้องกันผลกระทบที่อาจจะเกิดกับลูกและตัวคุณแม่เองค่ะ

ข้อห้ามสำหรับเบบี๋

เบบี๋น้อยแรกคลอดยังบอบบางมาก คุณพ่อคุณแม่ต้องคอยใส่ใจดูแลในทุกเรื่องเพื่อความปลอดภัย จึงมีข้อห้ามดังต่อไปนี้ค่ะ

1.ห้ามออกนอกบ้าน

ลูก น้อยวัยละอ่อนภูมิคุ้มกันในร่างกายยังทำงานไม่สมบูรณ์เต็มที่ ทั้งยังไม่ได้รับวัคซีนป้องกันโรคต่างๆ การพาเด็กไปอยู่ในสถานที่ที่เต็มไปด้วยฝุ่นละออง มลพิษ เชื้อโรคหรือฝุ่นละออง ฯลฯ ก็จะทำให้เสี่ยงที่ร่างกายจะรับเชื้อโรคและเจ็บป่วยได้ง่าย

คำแนะนำ :

สำหรับ เด็กแรกคลอดบ้านยังเป็นวิมานค่ะ ควรให้อยู่ในบ้านก่อนเพื่อสร้างภูมิคุ้มกันให้แข็งแรงก่อนออกไปผจญกับโลก ภายนอก และให้อยู่ในสถานที่ปลอดภัยด้วยนะคะ

2.ห้ามกินของอื่น (นอกจากนม)

เด็ก แรกคลอดอาหารหลักชนิดเดียวคือน้ำนมแม่ เพราะกระเพาะอาหารและลำไส้ลูกยังไม่พร้อมที่จะรับอาหารชนิดอื่น เมื่อกินเข้าไปอาจจะทำให้ท้องเสียและเกิดป่วยได้

คำแนะนำ :

อาหาร ตามคำโบราณอย่าง .......... ที่คุณย่าคุณยายตั้งใจให้กินช่วงนี้ คุณแม่ควรเลี่ยงไปด้วยท่าทีที่ประนีประนอม ส่วนอาหารเสริมเริ่มให้กินได้เมื่ออายุครบ 6 เดือนที่ระบบย่อยของลูกงพร้อมแล้วค่ะ

3.ถ้าไม่ใช่ผลิตภัณฑ์สำหรับเด็ก...ห้ามใช้

ผิวหนัง ลูกแรกคลอดบางใสเหมือนปีกแมงปอจนสามารถมองเห็นเส้นเลือดข้างใน แถมบนผิวก็ยังไม่มีแบคทีเรียที่ช่วยป้องกันเชื้อโรคภายนอกได้เหมือนผู้ใหญ่ ผิวลูกช่วงนี้จึงบอบบางมีโอกาสแพ้ง่ายทั้งยังเกิดแผลถลอกได้มากกว่าปกติด้วย ค่ะ

คำแนะนำ :

นอกจาก จะต้องสัมผัสและอุ้มลูกอย่างระมัดระวังแล้ว การเลือกใช้ผลิตภัณฑ์สำหรับเด็กจำเป็นค่ะ เพื่อป้องกันการระคายผิว ทั้งนี้การใช้น้ำยาซักล้าง ทำความสะอาดอุปกรณ์ของใช้ ควรเป็นผลิตภัณฑ์สำหรับเด็กที่ไม่มีสารตกค้างด้วยนะคะ

4.ท่านอนและนั่งต้องระวัง…. ประคองคอเวลาอุ้ม

กระดูก หรือข้อต่อของลูกแรกคลอดยังไม่แข็งแรง เรียกว่าเปราะบางและมีโอกาสบิดงอได้ง่าย ทั้งยังไม่สามารถทนต่อการรับแรงกระแทก กด ทับ ดึง หรือยื้อ ได้ โดยเฉพาะส่วนที่แตกหักบ่อยที่สุดคือ กระดูกแขน ขา มือ เท้าและไหปลาร้า

คำแนะนำ :

การอุ้มหรือเล่นกับลูกต้องระมัดระวังช่วงข้อต่อและคอเป็นพิเศษ ส่วน ท่านอนสำหรับเด็กแรกคลอดนั้นควรให้นอนหงายโดยให้ลำตัว แขนและขาปล่อยสบายๆ ไม่ให้ส่วนใดทับหรือบิดงอ แล้วที่กังวลว่าศีรษะจะแบนนั้น ก็ยังไม่น่ากังวลเท่ากับความปลอดภัยของลูกนะคะ

5. ห้ามกดกระหม่อม ---- ไม่จับเขย่า โยน โยกอย่างรุนแรง!!

สมอง ของลูกวัยขวบปีแรกยังพัฒนาไม่เต็มที่ค่ะทั้งเส้นเลือดก็มีโอกาสฉีกขาดได้ ง่าย น้ำในช่องสมองมากกว่าเนื้อสมอง การได้รับการกระทบกระเทือนอย่างรุนแรง เช่น ถูกเขย่า ถูกโยก อาจจะทำให้เกิดภาวะ Shaken Baby Syndrom (SBS) คืออาการที่เนื้อสมองไปกระทบกับกะโหลกศีรษะจนมีเลือดออกในสมอง ซึ่งอาการนี้ส่งผลต่อพัฒนาการการเจริญเติบโต

คำแนะนำ :

ท่าพิสดารในการเล่นกับลูก ทั้งจับลูกโยนกลางอากาศหรือจับลูกเขย่าอย่างรุนแรง ห้ามทำเด็ดขาด เพราะอาจทำให้เกิดอาการ SBS ซึ่งบางครั้งจะไม่สามารถสังเกตเห็นได้จากภายนอก คุณแม่จึงควรเลี่ยงสาเหตุที่จะก่อนให้เกิดภาวะนี้ที่มีความเสี่ยงนี้นะคะ

หลากหลายข้อห้ามมีไว้เพื่อสุขภาพที่ดีของแม่และลูกน้อยหลังคลอดนั่นเอง เพียงดูแลให้ดีก็ไร้ปัญหามารบกวนแล้วล่ะค่ะ

ที่มา ModernMom

แก้ปัญหาลูกสะอึกหลังดื่มนม


คุณแม่หลายท่านคงเคยพบกับปัญหาลูกน้อยสะอึกบ่อยครั้ง โดยเฉพาะหลังจากการให้นม จนทำให้เกิดความวิตกกังวลว่าจะเป็นอันตรายต่อลูกน้อยของคุณหรือไม่ สาเหตุที่ทารกมักสะอึกหลังจากที่ได้ดื่มนมเข้าไปแล้วนั้น ก็เนื่องมาจากการที่กระเพาะอาหารมีการขยายตัวหลังจากที่มีการดื่มนมเข้าไป นมที่ลูกดื่มเข้าไปส่งผลให้เกิดการหดตัวของกระบังลมอย่างรวดเร็ว และอีกปัจจัยหนึ่งของสาเหตุที่มักทำให้เด็กสะอึกก็คือ การดูดนมอย่างรวดเร็ว จนเป็นเหตุให้ลูกเกิดอาการสะอึกนั่นเอง แม้ว่าอาการสะอึกจะสามารถปล่อยให้หายไปได้เอง แต่ปัญหาเพียงแค่เล็กน้อยนี้อาจสร้างความกังวลใจให้กับคุณแม่หลายๆท่านมิใช่น้อย จนต้องหาวิธีการบรรเทาอาการสะอึกด้วยวิธีต่างๆมาใช้กับลูกน้อยของคุณ



คุณสามารถแก้ปัญหาการสะอึกของลูกได้ ด้วยวิธีการดังต่อไปนี้

1.  การให้นมลูกในแต่ละครั้ง ควรให้อย่างสงบ ไม่เร่งรีบ เพราะจะเป็นการรบกวนเด็กและทำให้เด็กตกใจ นำมาสู่การสะอึกได้ในที่สุด

2.  ไม่ควรหยุดให้นมอย่างกะทันหัน

3.  ทุกครั้งที่มีการให้นมจะต้องหยุดพัก เพื่อให้เด็กเรอนมอย่างน้อย 2 – 3 ครั้ง

4.  จัดให้เด็กอยู่ในท่านั่งก่อนที่จะทำการให้นม หลังจากที่ให้นมเสร็จแล้วก็ควรอุ้มเด็กให้อยู่ในท่านั่ง

5.  หากพบว่าลูกของคุณยังคงมีอาการสะอึก ให้อุ้มพาดบ่าเพื่อทำการไล่ลม ลูบหรือตบที่หลังอย่างเบามือประมาณ 5 – 10 นาที เพื่อบรรเทาอาการสะอึกให้ลดลง

อย่างไรก็ตาม อาการสะอึกในเด็กนี้พบได้บ่อยในเด็กแรกเกิดจนกระทั่งเด็กอายุ 4 – 5 เดือน และอาการสะอึกจะค่อยๆเกิดน้อยลงเมื่อเด็กเริ่มมีอายุมากขึ้น ท้ายที่สุดก็จะหายไปเองหรือเกิดได้น้อยครั้ง แม้ว่าอาการสะอึกจะมีอาการคล้ายคลึงกันในเด็กและผู้ใหญ่ แต่การบรรเทาอาการสะอึกให้ลดลงนั้น อาจมีวิธีที่แตกต่าง และไม่ควรนำวิธีการบรรเทาอาการสะอึกที่ใช้กับผู้ใหญ่มาปฏิบัติกับเด็ก เพราะวิธีการบรรเทาอาการสะอึกของผู้ใหญ่อาจเป็นอันตรายต่อเด็กได้ เช่น การกลั้นหายใจ การดื่มน้ำในปริมาณมาก หรือแม้กระทั่งการทำให้ตกใจ วิธีการเหล่านี้อาจไม่ดีนักหากจะนำมาใช้กับการบรรเทาอาการสะอึกของเด็ก โดยเฉพาะในเด็กทารก ซึ่งเป็นวิธีการที่ไม่ถูกต้อง และอาจเป็นอันตรายต่อเด็กได้

          คราวนี้หากลูกน้อยของคุณสะอึกคุณแม่ก็คงไม่ต้องกังวลใจอีกต่อไป เพียงแค่นำวิธีการดังกล่าวนี้ลองไปประยุกต์ใช้ เท่านี้ก็จะทำให้ลูกน้อยของคุณปลอดภัยจากอาการสะอึกได้แล้ว แต่คุณแม่จะต้องหมั่นสังเกตให้ดีนะคะว่าลูกน้อยของคุณกำลังสะอึกหรือสำลักนมกันแน่

นมคัดเกิดจากอะไร จะแก้อย่างไร

เต้านมคัด

มักเป็นทั้งเต้าและเป็นทั้ง 2 ข้าง เกิดจากการสร้างน้ำนมแม่ได้มาก แต่ไม่สามารถระบายน้ำนมออกหรือระบายออกไม่ทัน จึงเกิดอาการคัด บวม แข็ง เต้านมจะร้อน ผิวแดงเป็นมัน เจ็บ ลานนมตึงแข็ง ทำให้หัวนมสั้นลงจนลูกดูดไม่ได้ น้ำนมไหลไม่ดี
บางครั้งอาจจะมีไข้ได้ แต่ไม่เกิน 24 ชั่วโมง

สาเหตุของเต้านมคัด
1. ร่างกายสร้างน้ำนมได้มากกว่าปริมาณที่ลูกกิน
2. แม่ทิ้งช่วงการให้ลูกกินนมนานเกินไป ให้นมลูกไม่บ่อยพอ จำกัดเวลาการให้นมลูก หรือไม่ได้บีบออกในช่วงที่ลูกไม่ได้ดูด ทำให้มีน้ำนมสะสมในเต้ามาก
3. ให้ลูกดูดนมไม่ถูกวิธี ทำให้การระบายไม่ดีเท่าที่ควร



วิธีแก้ไขปัญหาเต้านมคัด
1. ประคบเต้านมด้วยผ้าอุ่นจัดอย่างน้อย 10 นาทีก่อนที่จะให้นมลูก ควรใช้ผ้าขนหนูผืนใหญ่พอที่จะหุ้มเต้านมได้โดยรอบ ตามด้วยการนวดและคลึงเต้านมเบาๆ จากฐานลงไปที่หัวนม (ดูได้จากวิดีโอ)
2. บีบน้ำนมออกจนลานหัวนมนุ่มลง จะช่วยให้ลูกงับลานหัวนมง่ายขึ้น
3. ให้ลูกดูดน้ำนมบ่อยมากขึ้น อย่างน้อยทุก 2 – 2 ½ ชั่วโมง ดูดให้ถูกวิธี เพื่อระบายน้ำนมออกจากเต้าให้ได้มากที่สุด และต้องให้ดูดในเวลากลางคืนด้วย มิฉะนั้นเต้านมจะคัดในเช้าวันรุ่งขึ้นอีก อีก ถ้าไม่สามารถให้นมลูกได้ตามเวลา ควรบีบน้ำนมออกเก็บไว้
4. หลังให้นมลูกเสร็จ ประคบเต้านมด้วยความเย็นเพื่อลดความเจ็บปวด
5. ถ้าแม่เจ็บมากจนให้ลูกดูดนมไม่ได้ อาจต้องพัก ระบายน้ำนมออกโดยบีบหรือปั๊มออก และป้อนนมแม่จากถ้วยให้ลูกแทน
6. รับประทานยาแก้ปวด ตามความจำเป็นเช่น พาราเซทตามอล
7. ควรใส่เสื้อชั้นในเพื่อพยุงเต้านมไว้
8. บีบเอาน้ำนมออกได้เรื่อย ๆ ถ้าจำเป็น เพื่อจะได้คลายความเจ็บปวดจนกว่าอาการเต้านมคัดจะดีขึ้น
9. หากอาการคัดเป็นรุนแรงมาก ควรปรึกษาคลินิกนมแม่

การป้องกันเต้านมคัด
1. ไม่ควรทิ้งระยะให้นมลูกนานเกินไป หากมีธุระไม่สามารถให้นมลูกได้ตามเวลา ควรบีบน้ำนมออกมาเก็บไว้เพื่อให้ลูกทานด้วยถ้วย
2. ให้ลูกดูดนมบ่อยๆ ดูดถูกวิธี และดูดจนเกลี้ยงเต้า

ในกรณีที่คัดและปวดมากจนแตะไม่ได้ วิธีที่ช่วยได้คือ นำกะละมังใส่น้ำอุ่นจัดที่พอทนได้วางบนโต๊ะ แล้วก้มตัวลงโดยใช้ข้อศอกยันโต๊ะไว้ ให้เต้านมจุ่มลงในน้ำสักพักใหญ่ๆ แล้วกระตุ้นการหลั่งน้ำนม(ทำจี๊ด)โดยโดยนวดเต้านมเบาๆ หรือใช้หลังนิ้วลูบเบาๆ จากนั้นจึงแช่เต้าในกะละมังอีกครั้งค่อยๆ ใช้มือบีบน้ำนมออกทีละน้อยเท่าที่จะทนเจ็บได้ (คุณแม่ในภาพมีรอยแดงรอบลานนมที่เต้าขวาเนื่องจากเต้านมอักเสบด้วย)

1 แช่เต้าในกะละมังใส่น้ำที่อุ่นจัดพอทนได้ (ตามภาพ)
2 กระตุ้นการหลั่งน้ำนม(ทำจี๊ด)โดยนวดเต้านมเบาๆ
3 กระตุ้นการหลั่งน้ำนม(ทำจี๊ด) โดยใช้หลังนิ้วลูบเบาๆ ที่เต้านมจากรอบนอกมาทางลานนม
4 แช่เต้าในกะละมังอีกครั้งค่อยๆ ใช้มือบีบน้ำนมออกทีละน้อยเท่าที่จะทนเจ็บได้

รวมปัญหาเกี่ยวกับหัวนม

อาการเจ็บหัวนม



การให้นมแม่ไม่ควรเจ็บปวด  ความเจ็บปวดอาจเกิดขึ้นในช่วงแรกแต่จะค่อยๆหายเจ็บทีละน้อยและหายเจ็บในที่สุด  การงับหัวนมที่ผิดวิธีและท่าอุ้มให้นมที่ผิดเป็นสาเหตุหลักของอาการเจ็บหัวนม เนื่องจากเด็กอาจงับลานนมได้ไม่ลึกพอจึงดูดเพียงบริเวณหัวนมซึ่งทำให้เจ็บ  ถ้าคุณมีอาการเจ็บหัวนม คุณมักเลื่อนเวลาให้นมออกไปและนี่เองเป็นสาเหตุของอาการเต้าคัดตึงและนำไปสู่อาการท่อน้ำนมอุดตัน  ถ้าลูกดูดนมอย่างถูกวิธีและดูดอย่างมีประสิทธิภาพ ลูกจะดูดได้นานเท่าที่ลูกต้องการโดยที่คุณไม่รู้สึกเจ็บ



ข้อควรจำ: ถ้าลูกดูดนมแล้วคุณรู้สึกเจ็บให้เอาลูกออกจากเต้าก่อนแล้วเริ่มใหม่ ขอความช่วยเหลือจากผู้เชี่ยวชาญหากยังรู้สึกเจ็บ



วิธีแก้ไข:

·         ตรวจสอบท่าอุ้มให้นมและท่างับหัวนมขณะดูดนมของลูก  เพื่อลดความเจ็บปวด ควรให้ลูกอ้าปากกว้างและให้งับลานนมให้มากที่สุดที่จะทำได้ คุณควรรู้สึกดีขึ้นทันทีเมื่อจัดท่าของลูกได้ถูกต้อง ดู BreastfeedingKnowHow สำหรับข้อมูลเรื่อง ท่าดูดนมที่ถูกวิธี (correct latch) และ ท่าอุ้มให้นม (Positioning the Baby at the Breast)

·         อย่าเลื่อนเวลาให้นมออกไป พยายามผ่อยคลายเพื่อให้กลไกน้ำนมพุ่ง (Let down Reflex) เกิดได้ง่ายขึ้น  คุณควรบีบนมออกเล็กน้อยก่อนเพื่อให้เต้านิ่มลงและลูกจะดูดได้ง่ายขึ้น

·         หากรู้สึกเจ็บหัวนมมาก ควรเปลี่ยนท่าให้นมในแต่ละครั้งที่ให้นม เพื่อลดการกดทับหัวนมที่ตำแหน่งเดิม

·         หลังให้นมเสร็จ บีบน้ำนมออกเล็กน้อยและนำมาทาเบาๆบริเวณหัวนม  เนื่องจากน้ำนมแม่มีคุณสมบัติในการรักษาตามธรรมชาติและทำให้ผิวลื่น  หลังจากให้นมเสร็จ พยายามผึ่งหัวนมให้แห้งก่อน หรือสวมใส่เสื้อผ้าที่ทำจากผ้าฝ้ายนุ่มๆ

·         การสวมแผ่นรองให้นม (nipple shield) ระหว่างการให้นมไม่ช่วยบรรเทาอาการเจ็บหัวนม  จริงๆแล้วมันทำให้เจ็บหัวนมนานขึ้นไปอีกเพราะทำให้ลูกยากลำบากในการเรียนรู้ที่จะไม่ใช้ nipple shield

·         หลีกเลี่ยงการสวมใส่เสื้อชั้นในหรือเสื้อผ้าที่รัดเกินไปซึ่งจะไปกดทับบริเวณหัวนม

·         เปลี่ยนแผ่นรองซับน้ำนมบ่อยๆเพื่อไม่ให้เต้านมชื้นเกินไป

·         หลีกเลี่ยงการใช้สบู่หรือครีมที่มีตัวยาสมานแผลหรือสารเคมีอื่นๆบริเวณหัวนม หลีกเลี่ยงผลิตภัณฑ์ที่ระบุว่าต้องล้างหรือเช็ดออกก่อนให้นม  การล้างเต้านมและหัวนมนั้นใช้น้ำสะอาดก็เพียงพอแล้ว

·         ใช้ลาโนลีนบริสุทธิ์ถูเบาๆบริเวณหัวนมหลังให้นมลูกเพื่อบรรเทาอาการเจ็บ

·         พักผ่อนให้เพียงพอ รับประทานอาหารให้ครบหมู่ และดื่มน้ำมากๆจะช่วยในกระบวนการรักษา  หากมีอาการปวดมาก อาจปรึกษาแพทย์ก่อนใช้ยาแก้ปวดที่ไม่มีส่วนผสมของแอสไพริน

·         หากมีอาการเจ็บหัวนมเป็นเวลานาน หรือมีการเจ็บหัวนมเฉียบพลันหลังจากให้นมมานานหลายสัปดาห์และที่ไม่เคยมีอาการมาก่อน คุณอาจติดเชื้อรา สัญณาณที่บ่งชี้ว่าติดเชื้อราคือมีอาการคัน ผิวแตกและแห้ง หรือมีผิวสีชมพู การติดเชื้ออาจเกิดจากเชื้อราในปากของลูกมาสัมผัสโดนหัวนม  การติดเชื้ออาจมีลักษณะเป็นจุดสีขาวเล็กๆบริเวณกระพุ้งแก้ม เหงือก หรือลิ้น มันอาจมีลักษณะเหมือนผื่นผ้าอ้อมและไม่สามารถรักษาให้หายโดยใช้ยาทาผื่นผ้าอ้อม หากคุณมีอาการเหล่านี้และคิดว่าคุณติดโรคเชื้อราในช่องปาก ให้ไปพบแพทย์ของคุณหรือกุมารแพทย์ หรือ ที่ปรึกษาด้านการให้นม (Lactation consultant) เพื่อรักษา



สิ่งสำคัญ : ถ้าคุณยังมีอาการเจ็บหัวนมหลังจากพยายามทำตามคำแนะนำต่างๆแล้ว คุณควรไปพบผู้เชี่ยวชาญที่ได้รับการอบรมด้านการให้นมแม่โดยเฉพาะ เช่น Lactation consultant หรือ Peer Counselor (สำหรับประเทศไทย ให้ไปพบผู้เชี่ยวชาญด้านการให้นมแม่ที่ศูนย์นมแม่หรือคลีนิคนมแม่)





อาการเต้านมคัด



เป็นเรื่องปกติที่เต้านมแม่จะใหญ่ขึ้น หนักขึ้นและบวมเมื่อมีการสร้างน้ำนมมากขึ้นในวันที่ 2-6 หลังคลอด  ซึ่งการสร้างน้ำนมที่เพิ่มขึ้นนี้อาจทำให้เกิดเต้านมคัด เต้านมจะแข็งขึ้นและมีอาการปวด บวม ร้อน เต้านมมีสีแดงขึ้น  บางครั้งอาจมีไข้ต่ำๆ และอาจทำให้สับสนกับโรคติดเชื้อที่เต้านม อาการคัดเต้านมเป็นผลจากร่างกายสร้างน้ำนมมากขึ้นมักเกิดขึ้นวันที่ 3-4 หลังคลอดบุตร ซึ่งทำให้การไหลเวียนโลหิตช้า  เมื่อเลือดและน้ำเหลืองเคลื่อนผ่านเต้านม ของเหลวจากเส้นเลือดเหล่านี้มีการซึมผ่านบริเวณเนื้อเยื่อเต้านมทำให้เกิดการคั่งบริเวณเต้านม ต่อไปนี้อาจเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดการคัดเต้านม



·         การดูดนมที่ผิดวิธีและท่าอุ้มให้นมที่ผิดวิธี

·         การพยายามจำกัดเวลาให้นมและการให้นมไม่บ่อยเท่าที่ควร

·         การให้อาหารเสริมอื่นโดยใช้ขวดนมเช่น น้ำ น้ำผลไม้ นมผสม หรือนมแม่

·         การใช้จุกหลอกบ่อยเกินไป

·         การเปลี่ยนเวลาให้นมเพื่อกลับไปทำงาน

·         ตัวลูกเองมีการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการดูดนมเช่น นอนหลับตลอดคืน หรือดูดนมในบางช่วงของวันถี่ขึ้นแต่ไปดูดน้อยลงในเวลาอื่น

·         เด็กบางคนมีแรงดูดน้อย ซึ่งทำให้ไม่สามารถดูดได้อย่างมีประสิทธิภาพ

·         แม่มีความอ่อนเพลีย มีความเครียด หรือภาวะโลหิตจาง

·         เต้านมสร้างน้ำนมมากเกินไป

·         หัวนมเป็นแผล

·         ความผิดปกติของเต้านม



อาการเต้านมคัดอาจนำไปสู่ภาวะท่อน้ำนมอุดตันหรือเต้านมอักเสบ ดังนั้นควรพยายามป้องกันไม่ให้เกิดขึ้น หากปฏิบัติได้ถูกต้องอาการควรหายไปภายใน 1-2 วัน



วิธีแก้ไข:

·         ลดอาการเต้าคัดโดยให้ลูกดูดอย่างถูกวิธีและการอุ้มให้นมให้ถูกท่า ให้ลูกดูดบ่อยๆและนานเท่าที่ลูกต้องการ ในช่วงแรกเมื่อน้ำนมมาเต็มเต้าพยายามปลุกลูกให้ดูดนมทุก 2-3 ชั่วโมง การให้ลูกดูดนมจากเต้าช่วยให้นมไหลได้ดีและระบายนมออกจากเต้าซึ่งทำให้เต้านมไม่เต็มจนเกินไป

·         หลีกเลี่ยงการใช้ขวดนมเสริมการให้นม หรือใช้จุกหลอกบ่อยเกินไป

·         ก่อนให้ลูกดูดนม พยายามบีบนมด้วยมือหรือปั๊มนมออกก่อนเล็กน้อยเพื่อให้เต้านม ลานนมและหัวนมนิ่มลง หรือนวดเต้านมให้ร้อนขึ้น

·         ความเย็นอาจช่วยบรรเทาอาการปวด  แม่บางคนใช้ใบกะหล่ำปลีช่วยบรรเทาอาการเต้าคัด ถึงแม้ประสิทธิภาพของใบกระหล่ำปลีจะยังไม่มีการพิสูจน์ แต่แม่ๆหลายคนคิดว่ากะหล่ำปลีช่วยได้ คุณอาจใช้กะหล่ำที่แช่เย็นหรือที่อุณหภูมิห้อง ตัดให้เป็นช่องสำหรับหัวนม และวางลงบนเต้านมได้เลย โดยสวมไว้ในเสื้อชั้นใน ให้เปลี่ยนใบสดใหม่เมื่อใบเก่าเหี่ยวลง

·         เมื่อต้องกลับไปทำงาน พยายามปั๊มนมในเวลาเดียวกับที่ลูกเคยดูดนมที่บ้าน

·         พักผ่อนให้เพียงพอ รับประทานอาหานให้ครบหมู่ และดื่มน้ำให้มากพอ

·         สวมเสื้อชั้นในที่พอดี ไม่รัดเกินไป



สิ่งสำคัญ : หากมีอาการเต้านมคัดเกิน 2 วัน หลังจากพยายามรักษาด้วยตัวเองแล้ว ให้ปรึกษาที่ปรึกษาด้านการให้นม (Lactation consultant)





ท่อน้ำนมอุดตันและเต้านมอักเสบ



เป็นเรื่องปกติสำหรับผู้หญิงหลายคนที่จะมีอาการท่อน้ำนมอุดตันถ้าเธอเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ท่อน้ำนมอุดตันมีอาการปวดบวมและเป็นก้อนในเต้านม ซึ่งไม่เกี่ยวข้องกับการมีไข้หรืออาการอื่น ท่อน้ำนมอุดตันเกิดขึ้นเมื่อน้ำนมไม่ถูกระบายออกและเกิดการอักเสบ จากนั้นแรงดันที่เกิดจากการอุดตัน และเนื้อเยื่อบริเวณใกล้เคียงจะเกิดการอักเสบ ท่อน้ำนมอุดตันมักเกิดทีละข้าง



ภาวะเต้านมอักเสบ (Mastitis) หรืออาการปวดหรือมีก้อนในเต้านมซึ่งจะมีอาการไข้ร่วมด้วย เช่นมีอาการอ่อนแรงและปวด  บางคนอาจมีอาการคลื่นเหียนและอาเจียน บางคนอาจมีน้ำสีเหลืองคล้ายคอลอสตุ้ม ไหลออกมาจากหัวนม หรือเต้านมร้อนขึ้นและมีสีชมพูหรือแดง  ภาวะเต้านมอักเสบสามารถเกิดขึ้นเมื่อมีสมาชิกภายในบ้านเป็นหวัดหรือมีไข้ และที่เหมือนกับท่อน้ำนมอุดตันคือมักจะเกิดขึ้นทีละเต้า ไม่ง่ายนักที่จะแยกความแตกต่างระหว่างท่อน้ำนมอุดตันและภาวะเต้านมอักเสบเนื่องจากทั้ง 2 อย่างมีอาการคล้ายกันและมักดีขึ้นภายใน 24-48 ชั่วโมง



วิธีแก้ไข : การรักษาท่อน้ำนมอุดตันและภาวะเต้านมอักเสบคล้ายกันแต่การรักษาเต้านมอักเสบต้องใช้ยาแก้อักเสบร่วมด้วย



·         บรรเทาอาการปวดด้วยความร้อนเพื่อเพิ่มการไหลเวียนของโลหิตบริเวณที่ปวดโดยใช้แผ่นความร้อนหรือขวดน้ำร้อนขวดเล็กๆ ใบกระหล่ำปลีไม่สามารถช่วยเรื่องท่อน้ำนมอุดตันแต่ช่วยนวดบริเวณที่ปวด ใช้นิ้วนวดเป็นวงกลมและนวดเข้าหาหัวนม

·         ให้ลูกดูดนมข้างที่มีอาการดังกล่าวบ่อยๆ ซึ่งจะช่วยให้หายอุดตันและน้ำนมไหลได้สะดวกขึ้นและช่วยระบายนมที่เต็มเต้า ให้ลูกดูดนมด้านที่เป็นทุก 2 ชั่วโมงทั้งกลางวันและกลางคืนจะช่วยให้หายเร็วขึ้น

·         พักผ่อนให้เพียงพอและนอนยกเท้าให้สูงจะช่วยได้มาก อาการท่อน้ำนมอุดตันและเต้านมอักเสบเป็นสัญญาณแรกที่แสดงว่าแม่ทำงานมากเกินไปและเหนื่อยเกินไป

·         สวมเสื้อชั้นในที่มีขนาดพอดีไม่รัดเกินไป

·         หากคุณไม่ดีขึ้นภายใน 24 ชั่วโมงหลังทำตามขั้นตอนดังกล่าวและมีไข้หรือมีอาการแย่ลง ให้ปรึกษาแพทย์เพราะคุณอาจต้องรับประทานยาแก้อักเสบ หรือหากเต้านมอักเสบทั้งสองข้างหรือหากคุณมีหนองหรือเลือดในน้ำนม หรือมีริ้วๆบริเวณที่เป็น หรือมีอาการรุนแรงและเฉียบพลันให้รีบไปพบแพทย์ทันที

·         ถึงแม้ว่าคุณต้องรับประทานยาแก้อักเสบ การยังคงให้ลูกดูดนมระหว่างการรักษาก็เป็นสิ่งที่ดีที่สุดสำหรับคุณและลูก ยาแก้อักเสบส่วนใหญ่ไม่มีผลต่อลูกโดยผ่านทางทางน้ำนม





โรคเชื้อราในปาก(Thrush)



โรคเชื้อราที่ปาก (ยีสต์) เป็นโรคเชื้อราที่อาจเกิดที่หัวนมหรือในเต้านมเนื่องจากเชื้อสามารถเจริญเติบโตในน้ำนม การติดเชื้อเกิดจากเชื้อ candida ที่มีปริมาณมากเกินไป โดยปกติเชื้อcandida สามารถพบได้ในร่างกายคนปกติโดยจะถูกควบคุมให้อยู่ในระดับที่ไม่เป็นอันตรายโดยแบคทีเรียตามธรรมชาติที่อยู่ในร่างกาย  แต่ถ้าความสมดุลของแบคทีเรียตามธรรมชาติเปลี่ยนไป candida สามารถเพิ่มปริมาณมากขึ้นจนทำให้เกิดอาการติดเชื้อได้ ปัจจัยที่ทำให้เกิดโรคเชื้อราในปากมีตั้งแต่ ผิวหนังมีความชื้นมากไป หรือหัวนมปวดหรือแตก การรับประทานยาแก้อักเสบ การรับประทานยาคุมกำเนิดหรือสเตียรอยด์ การรับประทานอากหารที่มีปริมาณน้ำตาลมากหรืออาหารที่มียีสต์ การเจ็บป่วยเรื้อรังเช่น การติดเชื้อ HIV โรคเบาหวาน หรือภาวะโลหิตจาง



ถ้าคุณเจ็บหัวนมนานหลายวันเกินไปทั้งที่ท่าดูดนมของลูกถูกต้องและท่าอุ้มให้นมถูกต้อง  หรืออยู่ๆคุณก็มีอาการเจ็บหัวนมทันทีจากที่ให้นมลูกมาหลายสัปดาห์และไม่เคยเจ็บมาก่อน   คุณอาจติดโรคเชื้อราในปาก อาการอื่นๆที่แสดงว่าคุณเป็นโรคนี้ ได้แก่ หัวนมเป็นสีชมพู ตกสะเก็ด คัน หรือแตก หรือหัวนมมีสีชมพูเข้ม หัวนมพุพอง คุณอาจมีอาการเจ็บลึกๆในเต้านมระหว่างหรือหลังการให้นม หรือปวดเต้านม



การติดเชื้อสามารถก่อตัวในปากของลูกจากการสัมผัสกับหัวนม โดยจะมีลักษณะเป็นจุดขาวบนหรือในกระพุ้งแก้ม เหงือกหรือลิ้น  การติดเชื้ออาจมีลักษณะเหมือนผื่นผ้าอ้อม (จุดเล็กสีแดงรอบๆผื่น) แต่ไม่สามารถใช้รักษาให้หายโดยยารักษาผื่นผ้าอ้อม ทารกหลายคนที่เป็นโรคเชื้อราในปากอาจปฏิเสธการดูดนม หรืออาจมีแก๊สในท้อง หรือมีอารมณ์ฉุนเฉียว



วิธีแก้

·         ถ้าคุณหรือลูกคุณมีอาการดังกล่าว ควรไปพบแพทย์เพื่อวินิฉัยโรค

·         คุณควรใช้ยาทั้งสำหรับรักษาหัวนมและยาสำหรับลูก  ยาสำหรับมารดามักเป็นครีมหรือขื้ผึ้งสำหรับทาหัวนม ยาสำหรับเด็กมักเป็นยาน้ำสำหรับรับประทาน(เพื่อรักษาอาการในช่องปาก) หรือครีมหรือขี้ผึ้งสำหรับรักษาผื่นด้านนอก

·         มียาหลายชนิดที่ใช้กันมานานหลายปีเพื่อรักษาโรคเชื้อราในช่องปาก แต่ปัจจุบัน candida มักจะดื้อยาเหล่านี้ หนึ่งในยาที่เก่าแก่ที่สุดแต่มีประสิทธิภาพในการรักษาโดยไม่ต้องใช้ใบสั่งแพทย์คือ herbal gentian violet (ยาป้ายลิ้นสีม่วง)  มันใช้ได้ผลเร็วและไม่แพง คุณสามารถซื้อได้ตามเคาน์เตอร์ขายยาทั่วไป ใช้คอตตันบัตแต้มยาป้ายที่ปากลูก หรือป้ายที่หัวนม  ข้อเสียของยานี้คือเปรอะเปื้อนได้ง่าย ก่อนใช้ควรถอดเสื้อผ้าลูกออกจนถึงผ้าอ้อม ส่วนของคุณก็ถอดส่วนเหนือเอวขึ้นไป  เมื่อกวาดลิ้นลูกเสร็จ ก็ให้ลูกดูดนมวิธีนี้จะทำให้ยามาอยู่บนหัวนมและลานนมได้ ถ้าหัวนมยังมียาไม่มากพอก็ใช้คัตตอนบัดป้ายยามาทาจนทั่ว ทำทุกวันวันละครั้งประมาณ 1 สัปดาห์ ปรึกษากุมารแพทย์หากมีคำถามเกี่ยวกับยานี้

·         ถ้าคุณใช้ยาครั้งแรกแล้วไม่เห็นผลภายใน 1 สัปดาห์ ควรปรึกษาแพทย์ของคุณและกุมารแพทย์เพื่อขอใบสั่งยา ฟลูคอนาโซล (Fluconazole), คีโตคอนาโซล (ketoconazole), และ ไอทราคอนาโซล (itraconazole) ซึ่งเป็นยาต้านเชื้อราที่ปลอดภัยสำหรับแม่และเด็ก ฟลูคอนนาโซล (Fluconazole) มักรับประทานในครั้งแรก 400 มิลลิกรัม หลังจากนั้นรับประทานครั้งละ 100 มิลลิกรัมวันละ 2 ครั้งเป็นเวลาอย่างน้อย 2 สัปดาห์ นอกจากรับประทานยาเหล่านี้แล้วคุณอาจต้องปรับเปลี่ยนการรับประทานอาหารเช่น รับประทานกระเทียมมากขึ้น ลดน้ำตาลทรายขาววหรือคาร์โบไฮเดรต รับประทานอาหารที่มีแลคโตบาซิลัส lactobacillus และ primadophilus bifidus ปรึกษาที่ปรึกษาด้านการให้นม ( Lactation Consultant) หรือแพทย์เพื่อหาวิธีที่ดีที่สุดที่จะรักษาโรคนี้

·         โรคนี้อาจใช้เวลาหลายสัปดาห์ในการรักษา ที่สำคัญที่สุดต้องไม่พยายามให้เชื้อแพร่ออกไป อย่าเก็บสต็อคนมที่มีเชื้อนี้อยู่ เปลี่ยนแผ่นรองซับน้ำนมบ่อยๆ ล้างหรือซักเสื้อผ้าหรือผ้าเช็ดตัวที่สัมผัสบริเวณที่มีเชื้อด้วยน้ำร้อนที่อุณหภูมิสูงกว่า 122 องศาฟาเรนไฮต์ (ประมาณ 50องศาเซลเซียส)

·         สวมเสื้อชั้นในสะอาดทุกวัน

·         ล้างมือคุณและล้างมือลูกบ่อยๆ โดยเฉพาะเด็กที่ชอบดูดนิ้ว

·         ต้มจุกหลอก จุกนม และของเล่นที่ลูกเอาเข้าปากโดยต้มเป็นเวลา 20 นาทีทำทุกวันเพื่อฆ่าเชื้อ หลังใช้ไป 1 สัปดาห์ให้ทิ้งจุกและของเล่นเหล่านั้นและซื้อใหม่

·         ต้มอุปกรณ์ปั๊มนมทุกชิ้นที่สัมผัสกับน้ำนมเป็นเวลา 20 นาทีทุกวัน

·         ตรวจสอบสมาชิกในบ้านคนอื่นว่าไม่ได้เป็นโรค หากเป็นให้รีบรักษา



อาการปฏิเสธเต้านม (Nursing Strike)



Nursing strike คืออาการที่ลูกปฏิเสธเต้านมหลังจากที่ดูดนมเป็นปกติมาเป็นเวลาหลายเดือน การปฏิเสธเต้านมอาจหมายถึงมีบางสิ่งเกิดกับลูกของคุณและลูกพยายามสื่อสารให้คุณรู้ว่ามีสิ่งผิดปกติ ไม่ใช่เด็กทุกคนจะมีปฏิกิยาเดียวกันในสถานะการณ์ที่ต่างกัน บางคนสามารถดูดนมต่อไปได้ บางคนอาจฉุนเฉียวกับเต้านม บางคนอาจปฏิเสธเต้าตลอดไป สาเหตุของการปฏิเสธเต้าได้แก่:



·         ปวดฟันเนื่องจากฟันกำลังขึ้น หรือเกิดจากการติดเชื้อราในช่องปาก หรือเจ็บคอจากหวัด

·         หูติดเชื้อ ทำให้เกิดความเจ็บปวดขณะดูดนม

·         ความเจ็บปวดจากท่าให้นมซึ่งอาจเกิดจากการบาดเจ็บบนร่างกายทารกหรือความเจ็บปวดหลังการได้รับฉีดวัคซีน

·         ความสับสนที่ต้องพรากจากแม่เป็นเวลานาน หรือมีการเปลี่ยนแปลงมากในกิจวัตรประจำวัน

·         มีสิ่งอื่นน่าสนใจที่อยู่รอบๆตัว

·         เป็นหวัดคัดจมูกซึ่งทำให้การหายใจลำบากขณะดูดนม

·         ปริมาณน้ำนมที่ลดลงเนื่องจากไปให้นมขวดเพิ่มขึ้น หรือดูดจุกหลอกมากเกินไป

·         ตอบสนองต่อปฏิกิริยาที่แข็งกร้าวของแม่เมื่อแม่ถูกลูกกัด

·         รู้สึกสับสนเมื่อได้ยินคนในครอบครัวโต้แย้งหรือใช้เสียงที่แข็งกร้าวขณะที่ดูดนม

·         ตอบสนองต่อความเครียด ถูกกระตุ้นมากเกินไป ถูกเลื่อนการให้นมเมื่อถึงเวลาอยู่บ่อยๆ



ถ้าลูกของคุณปฏิเสธนมแม่ เป็นเรื่องปกติที่คุณจะกังวลและสับสนโดยเฉพาะถ้าลูกไม่มีความสุข ที่สำคัญคือคุณต้องไม่รู้สึกผิดหรือโทษว่าเป็นความผิดคุณ  คุณอาจรู้สึกอึดอัดที่เต้านมของคุณเมื่อมีการสร้างน้ำนมมากขึ้น



วิธีแก้ไข :

·         พยายามให้ลูกดูดนมตรงเวลาเพื่อหลีกเลี่ยงอาการเต้านมคัดและท่อน้ำนมอุดตัน

·         พยายามใช้วิธีอื่นในการป้อนนมลูกเป็นการชั่วคราว เช่น ใช้ถ้วย หลอดหยด หรือช้อน ตรวจสอบผ้าอ้อมลูกเพื่อให้แน่ใจว่าลูกได้รับน้ำนมเพียงพอ (5-6 ครั้งต่อวัน)

·         พยายามเสนอเต้าให้ลูกดูด  ถ้าลูกไม่ยอมให้หยุดและลองทำใหม่ทีหลัง ลองทำเมื่อลูกกำลังจะนอนหรือเมื่อลูกง่วงมากๆ

·         พยายามลองท่าให้นมหลายๆท่า

·         พยายามให้ความสนใจลูกเต็มที่และปลอบโยนลูกด้วยการสัมผัสและกอดรัดมากขึ้น

·         พยายามให้นมขณะนั่งบนเก้าอี้โยกในห้องที่เงียบที่ไม่มีสิ่งรบกวน



บทความนี้แปลโดย แม่น้องคีย์ ค่ะ อย่าลืมช่วยกันส่งคำขอบคุณไปให้ผู้แปลด้วยนะคะ หรือจะเขียนไปขอคำปรึกษาเกี่ยวกับนมแม่ก็ได้เช่นกันค่ะ

ไม่ต้องอ่านฉลากก่อนซื้อก็รู้ว่าแตกต่าง

ทุกวันนี้บริษัทนมผสมโฆษณาโอ้อวดว่า นมผสมมีสารอาหารหลากหลายใกล้เคียงกับนมแม่ แต่ความจริงก็คือ ทุกวันนี้ยังไม่มีใครรู้ส่วนประกอบ “ทั้งหมด” ของนมแม่ และในบรรดาส่วนประกอบที่นักวิทยาศาสตร์สามารถวิเคราะห์ได้แล้ว นมแม่ก็ยังมีส่วนประกอบอยู่กว่า 100 ชนิด ที่นมผสมไม่มี

https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEhETfp2yEKiyxxnYuss2o1lW1eiWXhRWQ6jrcFKAw5zCtFrJqWgPn7W4GP8vfvSUG45JprLRhOcpJ7k017iRZiFgZOEDxLPvd0Mv48aafBqQHE_HwQAkBD_oj_tTgg4wSIyqE89EaTWCnSa/s200/im20.jpg
นอกจากนี้ บริษัทนมผสมพยายามโฆษณาว่า ผลิตภัณฑ์ของตัวเองมีสารอาหารโน้นเท่านี้ มีแร่ธาตุนี้เท่านั้น แต่ไม่มีบริษัทไหนพูดเรื่อง Nutrient Bioavailability หรือปริมาณสารอาหารที่ทารกสามารถดูดซึมไปใช้ได้ เลย

การเติมสาร อาหารสังเคราะห์ต่าง ๆ มากมายลงในนมผสม ไม่ได้หมายความว่า ทารกจะสามารถดูดซึมสารเหล่านั้นไปใช้ได้ทั้งหมด ยิ่งไปกว่านั้นการให้สารอาหารหรือแร่ธาตุที่มากเกินความต้องการ ยังอาจเป็นอันตรายด้วย

ทั้งนี้เป็นเพราะสารส่วนเกินจะต้องถูกกำจัด ออกจากร่างกาย แต่เนื่องจากไตของทารกยังพัฒนาเต็มที่ จึงไม่สามารถกรองโปรตีนและแร่ธาตุที่มีมากเกินจำเป็นได้

นมวัวมี โปรตีนและแร่ธาตุที่มากเกินไปสำหรับลูกคน จึงต้องนำไปทำให้เจือจางมากพอจึงจะไม่เป็นอันตรายต่อทารก นอกจากนี้การให้สารอาหารและพลังงานที่มากเกินแก่ทารกเร็วเกินไป จะทำให้เกิดผลเสียระยะยาวต่อสุขภาพของทารก

การที่นมแม่มีสารอาหารบาง ชนิดจำนวนไม่มาก ไม่ใช่เรื่องบังเอิญหรือความบกพร่องของนมแม่ แต่เป็นเพราะนมแม่มีปริมาณสารอาหารตรงตามความต้องการของทารก และเป็นสารธรรมชาติที่ดูดซึมได้ง่าย ทารกนำไปใช้ได้ทั้งหมด

น้ำนมแม่มีเอนไซม์สำหรับช่วยย่อย ซึ่งจำเป็นมากสำหรับทารกเนื่องจากทารกยังไม่สามารถผลิตเอนไซม์ได้ในช่วงสัปดาห์แรก ๆ

ใน โลกนี้มีสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมเพียงไม่กี่ชนิด ที่สามารถผลิตน้ำนมที่มีเอนไซม์ได้ นอกจากมนุษย์แล้ว สัตว์ที่มีความสามารถเช่นนี้ ได้แก่ ลิงกอริลลา สุนัข แมว พังพอน และแมวน้ำ น้ำนมวัวไม่มีเอนไซม์ที่จำเป็นสำหรับทารก

ในน้ำนมแม่ ยังมีโปรตีน แลคโตเฟอรินซึ่งจะจับตัวกับธาตุเหล็ก ช่วยป้องกันไม่ให้ธาตุเหล็กถูกนำไปใช้มากเกินไป ธาตุเหล็กมีความสำคัญ แต่ถ้าทารกได้รับน้อยไปหรือมากไปก็จะเป็นอันตราย ธาตุเหล็กที่มากเกินไปจะกระตุ้นการเติบโตของแบคทีเรียที่เป็นอันตรายในลำไส้

นอก จากนี้ยังมีงานวิจัยแสดงว่า ถ้าทารกแรกคลอดที่มีปริมาณธาตุเหล็กสะสมในระดับที่เหมาะสม ได้รับนมผสมที่เสริมธาตุเหล็กจะมีพัฒนการทางสมองที่แย่ลง

ผู้หญิงทุก คนมีน้ำนมที่มีสัดส่วนของสารอาหาร แร่ธาตุ ภูมิต้านทาน และ growth factor พอ ๆ กัน ไม่ว่าจะเป็นแม่ในประเทศเจริญแล้วหรือแม่ในประเทศด้อยพัฒนา และแม้แต่คุณแม่ที่มีภาวะพร่องโภชนาการ คุณภาพของน้ำนมแม่ก็แทบจะไม่แตกต่างจากน้ำนมแม่ทั่ว ๆ ไปเลย

คุณแม่ ที่ให้ลูกกินนมตัวเอง จึงมั่นใจได้ว่าลูกจะได้รับทั้งสารอาหาร แร่ธาตุ และภูมิต้านทานที่เหมาะสมจากนมแม่ โดยที่ไม่จำเป็นต้องสนใจอ่านฉลากข้างกระป๋องเลย

นมแม่ เป็น สิ่งที่ดีที่สุดสำหรับทารก


การบอก "ข้อดีและประโยชน์" ของการให้ลูกกินนมแม่ คล้ายกับเป็นการยอมรับว่าการให้ลูกกินนมผงเป็นเรื่องธรรมดาและมีความปลอดภัย ส่วนการให้ลูกกินนมแม่เป็น "โบนัส" ที่ลูกจะได้เพิ่ม

ความจริงไม่ใช่เช่นนั้น การให้ทารกกินนมผงไม่ปลอดภัย มีความเสี่ยงที่จะทำให้ทารกเจ็บป่วยและเสียชีวิต

ข้อเท็จจริงนี้ทำให้คนฟังรู้สึกไม่สบายใจ บางคนอาจรู้สึกไม่พอใจหรือเสียหน้า เพราะตัวเองไม่ได้กินนมแม่หรือลูกตัวเองไม่ได้กินนมแม่

แต่ผู้หญิงส่วนใหญ่ไม่ได้เป็นคนตัดสินใจเลือกเองว่าจะให้ลูกกินนมแม่หรือไม่ พวกเธอตัดสินใจไปตามความคาดหวังของสังคม, สิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรมรอบ ๆ ตัวเธอ

มนุษย์เป็นสัตว์สังคม เรามักจะทำอะไร ๆ ตามอย่างคนอื่น ทั้งที่มันอาจจะไม่มีเหตุผล

แม่นับล้าน ๆ คนมีความพยายามที่จะให้ลูกกินนมแม่ แต่ทำไม่สำเร็จหรือต้องล้มเลิกกลางคัน เพราะสังคมทั่วไปขาดความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้อง ประกอบกับวิธีปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ในโรงพยาบาล และแผนการตลาดของนมผงที่ตอกย้ำความเข้าใจผิด ๆ ทำให้ การให้ลูกกินนมแม่ ซึ่งเป็นวิธีปกติของการให้นมทารก ต้องถูกทำลายไป

แม่จำนวนมากมายให้ลูกกินนมผง ทั้งที่มันมีความเสี่ยงมหาศาลต่อสุขภาพของทารก เพราะการให้ทารกกินนมผงหรือการให้ทารกหย่านมแม่เร็วขึ้น กลายเป็นเรื่องปกติในสังคมยุคปัจจุบัน

แม่จำนวนมากมายไม่ได้รับการสนับสนุนอย่างเหมาะสมตั้งแต่แรกคลอด พวกเธอจึงไม่สามารถให้ลูกกินนมแม่ได้สำเร็จและนานพอ พวกเธอจึงคิดไปเองว่าร่างกายของเธอไม่สามารถผลิตน้ำนมได้

แม่บางคนเลิกให้ลูกกินนมแม่ภายในเวลาไม่กี่เดือน เพราะคิดว่ามันเป็นไม่เป็นอะไร เมื่อแม่ต้องกลับไปทำงาน ก็ไม่มีใครให้คำแนะนำว่าจะรักษาปริมาณน้ำนมไว้ได้อย่างไร

สังคมทั่วไปกำลังตอกย้ำให้คนเชื่อว่า การไม่ให้ลูกกินนมแม่ เป็นเรื่องปกติ ภาพโฆษณาที่เห็นทางสื่อต่าง ๆ ทำให้เราเชื่อว่า นมผงดีไม่แพ้นมแม่

เมื่อถึงเวลาที่ต้องตัดสินใจว่าจะให้ลูกกินนมแม่ หรือ นมผง แม่ทุกคนมีสิทธิ์อย่างสมบูรณ์แบบที่จะตัดสินใจเอง ว่าจะเลือกทางใด แม่ทุกคนไม่ควรจะถูกบังคับหรือกดดัน ว่าต้องให้ลูกกินนมแม่

แต่แม่ทุกคนก็ต้องมีสิทธิ์ที่จะได้รับรู้เกี่ยวกับอันตรายและความเสี่ยงที่จะเกิดจากการให้ลูกกินนมผงด้วย

การเลือกระหว่างนมแม่กับนมผง ไม่ใช่ ทางเลือกที่เท่าเทียมกัน

ปัจจุบันนี้เราได้รับรู้คุณประโยชน์มากมายมหาศาลของนมแม่ ทั้งต่อตัวทารก ต่อตัวแม่ และต่อสังคมเศรษฐกิจ แต่เราไม่มีโอกาสได้รับรู้ความเสี่ยงและอันตรายของนมผง

สถาบันกุมารเวชศาตร์ของสหรัฐอเมริกา ระบุว่า "การให้ทารกกินนมผง ทำให้อัตราและความรุนแรงของการเป็นโรคทั้งในระยะสั้นและระยะยาวเพิ่มขึ้น"

แต่อุตสากรรมนมผงและอาหารสำหรับเด็กทำงานอย่างหนักที่จะปกปิดข้อเท็จจริง เหล่านี้ รวมทั้งบิดเบือนความจริง เพื่อทำให้คนเชื่อว่า นมผงมีความปลอดภัยและดีพอ ๆ กับนมแม่ หรือกระทั่งโกหกว่า นมผงดีกว่านมแม่

พ่อแม่จะยังเลือกที่จะซื้อนมผงให้ลูกกินหรือไม่ ถ้าหากบริษัทนมผงไม่เผยแพร่โฆษณาอย่างต่อเนื่องตลอดเวลา ว่านมผงทำให้เด็กเติบโตแข็งแรงและมีพัฒนาการทางกายและสมองที่ดีล้ำเลิศ

พ่อแม่จะยังเลือกให้นมผงกับลูกหรือ ไม่ ถ้าหากแพทย์, พยาบาล, เจ้าหน้าที่สาธารณสุขและสื่อมวลชน นำเสนอข้อเท็จจริงอย่างสม่ำเสมอว่า การให้ทารกกินนมผงเพิ่มอัตราการเจ็บป่วยในเด็ก ถึงแม้นมผงที่ให้ทารกจะเป็นนมผงราคาแพงก็ตาม

ไม่ใช่แต่นมผงที่มีสารปนเปื้อนเมลามีนหรือสารอื่น ๆ เท่านั้นที่ทำให้ทารกเจ็บป่วย ทุกวันนี้โรงพยาบาลต่าง ๆ ไม่ว่าจะในประเทศที่ร่ำรวยหรือยากจน ต้องรับรักษาทารกจำนวนมากมายที่เจ็บป่วยเพราะกินอาหารและของเหลวอย่างอื่น ที่ไม่ใช่นมแม่ แต่ไม่เคยต้องรับรักษาทารกที่ป่วยเพราะกินนมแม่ล้วน ๆ เลย

ในความเป็นจริง การเลือกระหว่าง นมแม่ กับ นมผง ไม่ใช่แค่การเลือกว่าจะให้นมอะไรกับทารก แต่เป็นการเลือกระหว่าง สุขภาพ กับ ความเจ็บป่วย และในบางกรณีอาจเป็นการเลือกระหว่าง ชีวิต กับ ความตาย ด้วยซ้ำ

นมแม่ไม่ใช่สิ่งที่ดีที่สุดสำหรับทารก เพราะเราไม่สามารถจะนำอาหารอื่นใดมาเปรียบเทียบกับนมแม่ได้

น้ำนมแม่เหมือนหรือต่างจากนมกระป๋องอย่างไร

นมไหนว่าแน่ นมแม่นั้นแน่กว่าใครๆ........น้ำนมแม่เหมือนหรือต่างจากนมกระป๋องอย่างไร
หลายคนคงได้อ่านข่าวที่มีนักวิทยาศาสตร์ทำการโคลนนิ่งแม่วัวเพื่อให้ผลิตน้ำนมแบบน้ำนมของคนมาแล้วเมื่อไม่นานมานี้ หลายท่านอาจจะงงว่าเอ..ทำไมต้องมามีน้ำนมเหมือนน้ำนมของคน หรือลูกวัวจะมาแย่งน้ำนมแม่คนซะแล้ว ความจริงแล้วบรรดานักวิทยาศาสตร์พบหลักฐานแน่นอนว่าน้ำนมของคุณแม่คนทั้งหลายเป็นน้ำนมที่ดีที่สุด มีความเหมาะสมที่สุดในการเจริญเติบโตและมีสุขภาพแข็งแรงของลูก และอยากจะให้แม่วัวได้มีน้ำนมคุณภาพดีเลิศแบบน้ำนมคนไปเลี้ยงลูกวัวบ้างจะได้มีภูมิต้านทานและเติบโตได้ดีไม่ป่วยเป็นโรคกระเสาะกระแสะอย่างเช่นวัวในปัจจุบัน  ดังนั้นคำถามที่น้ำนมแม่และนมกระป๋องเหมือนกันไหม ใช้แทนกันได้ไหม ก็จะได้ตำตอบยืนยันมั่นคงว่าไม่เหมือนและทดแทนกันไม่ได้อย่างแน่นอน เพราะแม้แต่ข้างกระป๋องของนมผงยังเขียนไว้ว่า

“น้ำนมแม่เป็นอาหารดีที่สุดสำหรับทารก เพราะมีคุณค่าทางโภชนาการครบถ้วน “และมีคำอธิบานเพิ่มบนกระป๋องว่าสูตรใกล้เคียงน้ำนมมารดา

 “การใช้นมผสมควรใช้ตามคำแนะนำของแพทย์ พยาบาล หรือนักโภชนาการ “ก็หมายความว่าไม่ใช่สิ่งที่ปกติควรจะใช้เพราะต้องมีอะไรที่ ต้องระมัดระวังเป็นพิเศษ

“การเตรียมหรือใช้ส่วนผสมที่ไม่ถูกต้อง จะเป็นอันตรายต่อทารก” นั่นหมายความว่ามีอันตรายรออยู่เบื้องหน้าถ้าใช้ไม่ถูกวิธี

ลองมาดูกันนะคะว่าของแท้และของเทียมมีอะไรที่เหมือนหรือต่างกันอย่างไร
นมแม่ ของแท้ที่สร้างร่างกายของแม่และความรัก
นมผสม ของเทียมที่ทำจากเครื่องกลในโรงงานอุตสาหกรรม
น้ำนมแม่สะอาด ปราศจากเชื้อโรค อุ่นอยู่ในอก พร้อมให้ลูกรับประทานได้ทันที ทุกที่ทุกเวลา
ผลิตจากวัตถุดิบจากพืช หรือสัตว์ มีการเติมสารปรุงแต่งให้ใกล้เคียงกับนมแม่โดยกระบวนการผลิตหลายขั้นตอนทำให้มีโอกาสปนเปื้อนมากกว่า
มี สารอาหารครบตามความต้องการและยังเป็นของสารอาหารที่ลูกสามารถนำไปใช้ได้ดี จึงดูดซึมได้หมดทำให้มีระยะว่างของกระเพาะทารกน้อย ลูกจึงกินได้บ่อยครั้งทำให้มีน้ำนมมากขึ้นตามความต้องการของลูก
มี การปรับปรุงทั้งทางเพิ่มและลดเพื่อให้อยู่ในระดับที่ลูกเอาไปใช้ได้เท่านั้น นมกระป๋องมีน้ำตาลและไขมันที่ต่างจากนมแม่ทำให้ท้องผูก ใช้เวลาย่อยนานลูกจึงกินไม่บ่อย
นมแม่มีสารที่มีชีวิต เช่นเม็ดเลือดขาว ภูมิคุ้มกันที่ลูกเอาไปใช้ได้ทันที เอ็มไซม์ช่วยย่อยอาหาร และ ฮอร์โมนเพื่อช่วยในการเติบโต
เป็น ผงแห้งที่ถูกทั้งความร้อน กรด ด่าง ในกระบวนการผลิตจึงไม่เหลือชีวิต ต้องละลายด้วยน้ำอุ่นเพื่อคืนสภาพเป็นน้ำนมอีกทีก่อนให้ลูกกิน
การกินนมแม่ช่วยกระตุ้นฮอร์โมนของแม่ให้ทำงาน ร่างกายแม่จะกลับสู่ภาวะปกติได้โดยเร็ว
ร่าง กายแม่ไม่ได้รับการกระตุ้น ไม่ได้รับประโยชน์ในการกลับสู่ภาวะปกติ แต่ต้องเตรียมและทำความสะอาดอุปกรณ์อย่างเร่งรีบ เวลาที่จะได้พักหรือชื่นชมกับลูกก็น้อยลงไป
เด็กที่กินนมแม่มีการป่วยด้วยโรคท้องร่วงน้อยกว่าเด็กกินนมกระป๋อง
นม กระป๋องไม่ได้อยู่ในสภาพปราศจากเชื้อโรด และขั้นตอนการเตรียมจะมีโอกาสปนเปื้อนเชื้อโรคจากน้ำ ภาชนะ และอื่นๆได้มากกว่าทำให้เด็กที่กินนมกระป๋องมักป่วยด้วยโรคท้องร่วงในช่วง ขวบปีแรก
นมแม่ลดปัญหาโรคภูมิแพ้ และหอบหืด
เด็กที่ได้รับโปรตีนแปลกปลอมของนมวัวหรือพืชบางตัวที่เติมในนมกระป๋องจะกระตุ้นให้เกิดภาวะภูมิแพ้
นม แม่ลดปัญหาโรคอ้วน เพราะมีไขมันชนิดดีที่ช่วยพัฒนาสมองและการมองเห็น มีน้ำตาลนมที่จะกลายเป็นอาหารให้แบคทีเรียดีในลำไส้ใช้ในการช่วยป้องกันการ ท้องร่วงในทารกนั้นด้วย
เด็กมักกินนมในจำนวนที่มากกว่าที่ร่างกายต้องแต่ดูดนมเพราะถูกกระตุ้นจากการป้อน ทำให้กินมากเกินไป   และนมกระป๋องมีไขมันและน้ำตาลที่ทำให้เป็นโรคอ้วน
นมแม่ลดปัญหาความดันโลหิตสูง โรคหัวใจและหลอดเลือด
นม กระป๋องไม่มีเอ็มไซม์ย่อยไขมัน และมีไขมันที่ทำให้เกิดการอุดตันของเส้นเลือดมากกว่า จึงพบการเป็นโรคหัวใจและหลอดเลือดเมื่อเป็นผู้ใหญ่มากกว่า
นมแม่ลดปัญหาโรคเบาหวาน ทั้งแบบถ่ายทอดทางกรรมพันธุ์และแบบที่เกิดจากพฤติกรรมการกินที่ไม่เหมาะสม
น้ำตาล ในนมกระป๋องเป็นน้ำตาลทรายหรือน้ำตาลอื่นที่มีความหวาน กระตุ้นให้ตับอ่อนหลั่งอินซูลินมากจนทำให้เป็นโรคเบาหวานในวัยรุ่นหรือเมื่อ เป็นผู้ใหญ่ได้
นมแม่ลดปัญหาโรคไต เพราะมีปริมาณโปรตีนที่พอเหมาะ ไม่มากไม่น้อยเกินไป
ปริมาณ โปรตีนในนมกระป๋องจะมีปริมาณที่สูงเพราะดูดซึมได้เพียงเล็กน้อย เมื่อทารกได้รับโปรตีนในจำนวนมากก็จะเพิ่มการทำงานของไตทำให้เกิดปัญหาโรคไต ได้
นมแม่ช่วยปกป้องลูกจากการปนเปื้อนจากสิ่งแวดล้อม  เพราะร่างกายคุณแม่จะกรองสิ่งไม่ดีออกไปเพื่อให้ลูกปลอดภัย
นม กระป๋องถูกเรียกคืนบ่อยครั้งจากทั่วโลกจากการปนเปื้อนเชื้อโรค สารพิษเช่น เมลานิน สารตะกั่วและโลหะหนักอื่นๆจากกระบวนการผลิต และการปนเปื้อนจากสิ่งแวดล้อมจะทำให้วัวได้รับสารเหล่านั้นสะสมในร่างกาย มากกว่า เมื่อเอาน้ำนมมาใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตน้ำนมจึงมีการปนเปื้อนมากกว่า
นมแม่ช่วยให้ลูกมีสุขภาพกาย สุขภาพใจที่ดี เพราะใกล้ชิดกับแม่
การ กินนมกระป๋องมักทำให้แม่ลดโอกาสการใกล้ชิดกับลูก สัมผัสที่ปากลูกได้รับเป็นสัมผัสระหว่างจุกยาง ขวดพลาสติกกับลูก การโอบกอดจึงเป็นสิ่งสำคัญที่ไม่ควรละเลย
 โดย มีนะ สพสมัย IBCLC

ดูเหมือนว่าน้ำนมไม่ไหลหรือน้ำนมน้อยทำอย่างไรดี

นมแม่ไม่ไหล



§  มัก เกิดจากการดูดที่ตื้นเกินไปหรือดูดที่หัวนม คุณแม่ลองขยับให้ลูกแนบตัวมากขึ้น รอลูกอ้าปากกว้างก่อนจึงจะจับเต้าเข้าปาก ว่าไปแล้วจะต้องปากพาลูกมาหาเต้านมแม่ ไม่ใช่พาเต้าแม่ไปใส่ปากลูกเพราะจะทำให้แม่ปวดเมื่อยหลังเพราะต้องก้มตัว  สำคัญ ที่ว่าปากอ้ากว้าง คางชิดเต้านมแม่ ท้องแม่แนบท้องลูกนะคะ การอุ้มที่แนบชิด ปากอ้ากว้างอมลึกถึงลานนมนี้ยังช่วยแก้ปัญหาหัวนมเจ็บได้ด้วยค่ะ
§  แม่เครียด!!! ก็เป็นอีกสาเหตุที่มักทำให้กลไกน้ำนมพุ่ง หรือน้ำนมไหลหดหายไปโดยปริยาย เพราะฮอร์โมนรักที่ต้องการถูกความเครียดมาขวางทางไว้ ทางที่หาทางนอนเวลาลูกนอน พยายามกินอาหารและพักผ่อนให้เพียงพอ สร้างบรรยากาศผ่อนคลายด้วยเสียงเพลง สายลมและสองหรือสามเราพ่อแม่ลูกกันหน่อยค่ะ เรื่องเลี้ยงลูกเป็นเรื่องที่ต้องเรียนรู้ใหม่กันหมดทำได้อย่างใจบ้างไม่ได้ บ้างอย่างเพิ่งท้อ ผ่านไปสักอาทิตย์สองอาทิตย์ก็จะดีขึ้นเอง รอบข้างมีใครพอแบ่งเบาช่วยเหลือได้ก็ขอช่วยไปก่อน ไม่นานก็เก่งทุกคนค่ะ
น้ำนมน้อย

§  ถ้า ดูเรื่องท่าอุ้มท่าดูดถูกต้องกันดีแล้ว การกระตุ้นโดยให้ดูดให้บ่อย ดูดให้นานขึ้น น้ำนมได้ถ่ายเทออกมามากก็จะมีน้ำนมมากเอง ที่สำคัญอย่าไปคาดหวังว่าจะมีน้ำนมมากมายในช่วงสัปดาห์แรกเพราะทั้งกระเพาะ ลูกและเต้านมแม่ก็เพิ่งเริ่มงานกันทั้งคู่ขอเวลาให้เครื่องเดินเต็มที่ รับรองหายห่วง แต่ต้องให้กินบ่อยพอในช่วงเดือนแรกขอเป็นสัก 8 ครั้งในหนึ่งวันนะคะ
§  คุณ แม่อาจเสริมแรงด้วยอาหารหวานคาวที่ใครต่อใครบอกว่าทำให้น้ำนมพลั่งพรู เช่นน้ำขิง น้ำเต้าหู้ ยำพัวปลี แกงเลียง เม็ดขนุนต้ม มะละกอ สัปปะรด เพื่อบำรุงคุณแม่ อย่างลืมพักผ่อนหลับจะได้สดชื่นผ่องใส มีแรงเลี้ยงลูก ช่วงนี้อย่าไปห่วงจะลดน้ำหนักเพราะได้ออกกำลังเลี้ยงลูกอยู่แล้วรับรองว่า ผอมแน่

แม่กับลูกต้องอยู่ด้วยกันตลอดเวลาที่อยู่ในโรงพยาบาล

การแยกกับลูกออกจากกันในระหว่างพักฟื้นที่โรงพยาบาลกลายเป็นมาตรฐานทางการ แพทย์ในหลาย ๆ ประเทศ ทั้ง ๆ ที่มีหลักฐานว่าการแยกทารกแรกคลอดจากแม่จะมีผลในทางลบต่อร่างกายและอารมณ์ ของทั้งลูกและแม่

ข้ออ้างที่ใช้เป็นเหตุผลคือเรื่องของความสะอาดและ สุขอนามัย แต่ไม่มีงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์ชิ้นใดเลยที่แสดงว่าอัตราการติดเชื้อในทารก ที่ถูกแยกจากแม่จะน้อยกว่าทารกที่อยู่กับแม่ตลอดเวลา

หลักฐานที่มี อยู่กลับแสดงผลในทางกลับกัน คือทารกที่ถูกแยกจากแม่มีอัตราการติดเชื้อมากกว่า และอัตราการเสียชีวิตของทารกแรกคลอดจะลดลง ถ้าแม่ได้มีโอกาสอยู่กับลูกตลอดเวลาเพื่อให้นมลูกและดูแลลูก

ทารกที่ อยู่กับแม่ผู้ซึ่งใช้ร่างกายตัวเองปกป้องทารกมาตลอดเวลาเก้าเดือนและพร้อม ที่จะให้ภูมิคุ้มกันลูกด้วยน้ำนมแม่ ย่อมต้องปลอดภัยกว่าอยู่กับเจ้าหน้าที่และพยาบาลที่ทำได้แค่ป้อนนมผสมให้กับ ทารก

การผลิตน้ำนมแม่ เป็นไปตามกฏของอุปสงค์กับอุปทาน ยิ่งทารกดูดนมมาก ร่างกายแม่ก็ยิ่งผลิตนมออกมามาก

ทารก ที่มีสุขภาพดีและกำลังหิวเป็นผู้ผลิตนมที่มีประสิทธิภาพที่สุดในโลก เพราะสามารถกระตุ้นให้เกิดน้ำนมในปริมาณที่ตัวเองต้องการได้โดยการดูดนม จากอกแม่

การระงับความหิวหรือกระหายของทารกด้วยอาหารหรือของเหลวอื่น ที่ไม่ใช่นมแม่ ทำให้การดูดนมแม่ยากลำบากขึ้น พวกเราที่เป็นผู้ใหญ่ไม่อยากฝืนกินอาหารเวลาที่เรารู้สึกอิ่ม ทารกก็รู้สึกเช่นเดียวกัน

ถ้าพยาบาลป้อนนมผสมหรือน้ำกลูโคสให้ทารก เขาก็จะไม่อยากจะดูดนมจากอกแม่ ทารกจะลดปริมาณการผลิตน้ำนมของแม่ไปโดยอัตโนมัติ เพราะท้องที่อิ่มส่งสัญญาณว่าให้กระตุ้นการสร้างน้ำนมน้อยลง ร่างกายของแม่รับสัญญาณว่าทารกไม่ได้ต้องการน้ำนมมาก ก็จะลดปริมาณการผลิตน้ำนมลง

ความอยากกินนมของทารกเชื่อมโยงโดยตรงกับ สารอาหารและปริมาณน้ำนมที่เขาต้องการ ทารกสามารถเพิ่มหรือลดปริมาณน้ำนมและปรับสมดุลของสารอาหารในน้ำนมแม่ได้ อย่างเหมาะสม ถ้าเขามีโอกาสได้ดูดนมแม่ตามความต้องการ แต่ถ้าทารกกับแม่แยกกันอยู่ เขาก็ไม่สามารถกระตุ้นน้ำนมแม่ได้

ทารกอาจจะส่งสัญญาณว่าต้องการกินนมโดยหันศีรษะ อ้าปากและแลบลิ้นออกมา หรือส่งเสียงเบา ๆ (ทารกสามารถ "พูด" ได้เร็วกว่าที่พวกเราคิด)

แต่ ถ้าทารกถูกแยกไปอยู่ในห้องเด็กก็จะไม่มีใครสังเกตเห็นสัญญาณนี้ เขาจึงต้องร้องไห้เพื่อให้พยาบาลรับรู้ความต้องการ และกว่าที่พยาบาลจะพาลูกมากินนมแม่ ทารกอาจจะหิวหรือเหนื่อยเกินไป จนหมดแรงที่จะดูดนมแม่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

เราทุกคนน่าจะเคยรู้สึก หิวมาก ๆ แต่ก็หงุดหงิดจนกินอะไรไม่ลง เรามักจะลืมไปว่าทารกก็เป็นคนเหมือนกัน เวลาเราไปร้านอาหาร ถ้าเราต้องตะโกนจนเสียงแหบกว่าพนักงานเสิร์ฟจะมารับออร์เดอร์ และถ้าเราต้องรอนานมากกว่าอาหารจะมา เราก็คงไม่พอใจ เวลาที่ทารกหิวแล้วไม่ได้รับการตอบสนองรวดเร็ว ก็เป็นเช่นเดียวกัน

มี งานวิจัยที่แสดงว่า แม่ที่ได้นอนกับลูกของตัวเองตอนกลางคืน จะสามารถตอบสนองความต้องการของลูกได้ดีกว่าแม่ที่นอนแยกกับลูก แม่กระทั่งในระหว่างหลับ แม่ก็ยังรับรู้จังหวะและตอบสนองการดูดนมของลูกได้ตลอดทั้งคืน แม่ส่วนใหญ่จะปรับท่านอนโดยอัตโนมัติ แขนอยู่เหนือหัวลูก ศีรษะและเข่างอเข้าหากัน เป็นท่าที่จะปกป้องลูกจากอันตราย

แม่ลูกที่ ได้นอนด้วยกันจะเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ได้สำเร็จมากกว่าแม่ลูกที่นอนแยกกัน การให้ลูกได้ดูดนมตั้งแต่เนิ่น ๆ และดูดบ่อย ๆ ช่วยให้น้ำนมมาเร็วขึ้น ความใกล้ชิดทางกายระหว่างแม่กับลูก ทำให้ขบวนการนี้เกิดขึ้นได้ง่ายขึ้น

เนื้อแนบเนื้อ skin-to-skin contact

การที่แม่และลูกได้สัมผัสกันแบบเนื้อแนบเนื้อ (skin-to-skin contact) ช่วยกระตุ้นฮอร์โมนเกี่ยวกับการผลิตน้ำนมในตัวแม่ และกระตุ้นฮอร์โมนเกี่ยวกับการย่อยอาหารในตัวลูก



ทันที่ที่คลอดลูก แม่จะเอื้อมมือไปคว้าลูกทันทีตามสัญชาติญาณ เพื่อให้ลูกได้อยู่ใกล้ ๆ แต่ถ้าแม่เหนื่อยเกินไปหมอหรือพยาบาลอาจจะอุ้มลูกมาวางบนตัวแม่ ทารกมีสัญชาติญาณในการค้นหาเต้านมของแม่ตั้งแต่แรกเกิด โดยอาศัยการสัมผัส ดมกลิ่น และการมองเห็น

ไม่ใช่เรื่องบังเอิญที่ลานนมของผู้หญิงที่ ตั้งครรภ์จะมีสีเข้มขึ้น นี่เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ ช่วยให้ทารกแรกคลอดหาหัวนมแม่เจอ และทำให้มนุษย์มีชีวิตรอด

เมื่อ ทารกหาหัวนมแม่เจอ เขาจะเปิดปากกว้างและเริ่มดูดนม ถ้าทารกไม่ได้ซึมเพราะยา การดูดนมซึ่งเป็นปฏิกริยาอัตโนมัตินี้ จะมีแรงมากที่สุดตอนทันทีหลังคลอด ทารกรู้ว่าต้องดีว่าต้องทำอะไรตามสัญชาติญาน

กิจวัตรของการจับทารก แรกคลอดอาบน้ำและห่อในผ้าอ้อมไม่ได้เกิดจากการศึกษาวิเคราะห์อย่างมีเหตุผล แต่เกิดจากความเชื่อของคนบางกลุ่มที่กลายมาเป็นมาตรฐานทางการแพทย์ เป็นความจริงที่ว่าทารกแรกคลอดต้องได้รับความอบอุ่น แต่ทารกจะได้รับความอบอุ่นมากที่สุดเมื่ออยู่ในอ้อมกอดแม่

ทารกที่ อยู่ในที่นอนเด็กอาจจะไม่ได้รับความอบอุ่นมากพอถึงแม้จะถูกห่อด้วยผ้าอ้อมก็ ตาม เป็นที่รู้กันดีแล้วว่า ร่างกายของแม่จะอุ่นขึ้นถ้าลูกรู้สึกหนาว และร่างกายของแม่จะเย็นลงถ้าลูกรู้สึกร้อน

การอาบน้ำให้ทารกแรกคลอด จะชำระล้างไขมันสีขาวที่เรียกว่า Vernix ออกไป Vernix เป็นฟิล์มไขมันที่จะเคลือบผิวหนังของทารก ช่วยให้เขาไม่รู้สึกหนาว และป้องกันการระคายเคืองจากการขูดขีด สถานพยาบาลที่มีความเข้าใจที่ถูกต้องจะไม่อาบน้ำให้ทารกทันทีหลังคลอด แต่จะแค่ซับตัวให้แห้ง และวางในอ้อมกอดแม่ทันที

ในบางกรณีทารกอาจ ต้องได้รับการดูแลจากแพทย์ทันทีหลังคลอด แต่กิจกรรมส่วนใหญ่ที่ไม่มีผลต่อชีวิตหรือสุขภาพของทารก เช่น การชั่งน้ำหนัก สามารถรอได้ ควรให้แม่กับทารกได้สัมผัสและดูดนมแม่ทันที

แพทย์ และเจ้าหน้าที่ีที่มีความรู้ความชำนาญจะพยายามไม่รบกวนการสัมผัสเนื้อแนบ เนื้อของแม่และลูกหลังการคลอด และจะรอจนกว่าลูกได้ดูดนมแม่แล้ว จึงจะไปทำกิจกรรมต่าง ๆ ที่จะต้องทำ

พยาบาลทำคลอดที่เกษียณแล้วบอก ว่า ไม่มีอะไรที่จะงดงามต่อการสัมผ้สเท่ากับผิวทารกแรกคลอด แม้แต่ผ้าไหมที่นุ่มนวลที่สุดก็ยังสู้ไม่ได้ การเอาทารกมาทำกิจกรรมต่าง ๆ ที่ไม่จำเป็นต่อสุขภาพและชีวิตของทารก เป็นการแย่งเอาความปิติยินดีที่แม่ควรจะได้รับมาจากแม่

เมื่อแม่กับลูกไม่ได้สัมผัสกันเนื้อแนบเนื้อตั้งแต่แรกคลอด เราก็ยังแย่งเอาโอกาสที่จะได้สัมผัสร่างกายและหน้าอกแม่ มาจากทารกอีกด้วย
 
 
Support : | |
Copyright © 2014. บ้าน น้องโอห์ม - All Rights Reserved
Template Created by Published by
Proudly powered by Blogger