Latest Movie :




ลูกครบ 6 เดือน พาลูกไป ฉีดวัคซีน คอตีบ ไอกรน บาดทะยัก โปลิโอและตับอักเสบ ครั้งที่ 3 จ้า!!!

ลูกครบ 6 เดือน พาลูกไป ฉีดวัคซีน คอตีบ ไอกรน บาดทะยัก โปลิโอและตับอักเสบ ครั้งที่ 3 จ้า!!! 18 กันยายน 2557
อายุ 6 เดือน
น้ำหนัก 7.8 กิโล
ความยาว 69 ซ.ม
รอบศรีษะ 43.5 ซ.ม.
น้องโอห์ม มีอายุ ได้ :198 วัน, 08 ชั่วโมง, 50 นาที, 37 วินาที. 






การพาลูกน้อยไปฉีดวัคซีนนั้น อันที่จริงแล้วไม่ใช่เพียงการพาลูกไปฉีดวัคซีนเท่านั้น แต่เป็นการพาลูกไปตรวจเช็คสุขภาพ การเจริญเติบโต (น้ำหนัก,ส่วนสูง,เส้นรอบศรีษะ) และตรวจพัฒนาการด้วย ถ้าคุณพ่อคุณแม่พาลูกน้อยไปพบคุณหมอ แล้วคุณหมอไม่ทำอะไรอื่นเลยนอกจากการฉีดวัคซีน คุณพ่อคุณแม่ควรท้วงติงคุณหมอให้ทำสิ่งต่างๆ เหล่านี้ให้ครบ ดังที่ระบุเป็นข้อๆ ข้างล่างนี้
ตรวจร่างกายโดยทั่วไป รวมถึงการวัดไข้ด้วย เพราะถ้าเด็กมีไข้ ก็ยังไม่ควรฉีดวัคซีน
ชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง วัดเส้นรอบศรีษะ แล้วจดบันทึกไว้ในตารางบันทึกในสมุดประจำตัวของเด็ก
นำเอาผลที่ได้ในข้อสอง ไปพล๊อต ในกราฟ ของน้ำหนักและส่วนสูง(ในสมุดประจำตัวของเด็ก) เพื่อดูว่าน้ำหนักและส่วนสูงของเด็กอยู่ในเกณฑ์มาตรฐานหรือไม่
พูดคุยกับคุณหมอถึงพัฒนาการของลูกในช่วงวัยนั้นๆว่าสมวัยหรือไม่
พูดคุยซักถามคุณหมอเพื่อเลือกชนิดของวัคซีนที่จะฉีด(เพราะปัจจุบันมี วัคซีนทั้งแบบในโปรแกรมธรรมดาๆ และวัคซีนพิเศษนอกโปรแกรมซึ่งราคาจะแพงกว่า วัคซีนธรรมดามาก)
ตัดสินใจเลือกวัคซีนที่จะฉีดตามความเหมาะสมและความพร้อม(ด้านการเงิน) เมื่อตัดสินใจได้แล้ว คุณหมอจะต้องลงบันทึกการฉีดลงในสมุดประจำตัวของเด็ก ในหน้าที่ใช้ในการบันทึกการฉีด (ต้องเน้นให้บันทึกทุกครั้ง และบันทึกให้ถูกหน้า) และให้ลงรายการนัดฉีดครั้งถัดไป ในหน้าสำหรับนัดให้ถูกต้องและถูกที่ทุกครั้ง
เข้ารับการฉีดวัคซีน (ขั้นตอนนี้ต้องระวัง ถ้าสถานพยาบาลที่ให้เจ้าหน้าที่พยาบาลหรือเจ้าหน้าที่อื่นๆ ฉีด โดยหมอไม่ได้เป็นคนฉีดเอง ต้องระวังความผิดพลาดที่เกิดจากการเตรียมยาผิด ฉีดผิด ตำแหน่งและความลึกของเข็ม (ยาบางตัวฉีดเข้าใต้ผิวหนังบางตัวฉีดเข้ากล้าม เนื้อ) หรือแม้กระทั่งยาบางตัว จะต้องรอให้แอลกอฮอล์ที่เช็ดผิวหนังแห้งเสียก่อน จึงค่อยจิ้มเข็มลงฉีด เพราะเป็นวัคซีนเชื้อเป็น ขั้นตอนนี้ถ้าหมอเป็นคนฉีดให้เด็กเอง หมอจะช่วยในการตรวจความถูกต้องซ้ำ (Double check) ก่อนการลงมือฉีดด้วย
สอบถามถึงอาการที่อาจจะเกิดขึ้นหลังจากฉีดวัคซีนในวันนั้นๆ และขอยาที่อาจจะต้องใช้ไปเก็บไว้เผื่อมีอาการตอนดึกๆ เช่นยาแก้ปวดลดไข้
คำแนะนำในการเลือกฉีดวัคซีน (ว่าจะเอาโปรแกรมไหนดี) หลักการในการเลือก

วัคซีนทุกชนิด (ที่ไม่ใช่ยาเถื่อน หรือยาที่ไม่ผ่านองค์การอาหารและยา) ดีและมีประโยชน์ต่อร่างกายทั้งนั้น ตามหลักการที่ว่า การไม่เป็นโรคดีกว่าการเป็นแล้วจึงค่อยมารักษา (Prevention is better than cure)
การจะเลือกฉีดวัคซีนแบบเฉพาะในโปรแกรมหรือเอาวัคซีนพิเศษด้วย ปัจจัยสำคัญคือความพร้อมทางด้านการเงิน ถ้าไม่มีปัญหาทางด้านการเงิน แนะนำให้ฉีดวัคซีนทุกตัว และแบบที่ดีที่สุดไปเลย (แบบรวมอยู่ในเข็มเดียวกัน จะได้ไม่ต้องเจ็บหลายที)
วัคซีนเฉพาะในโปรแกรมของกระทรวง (แบบพื้นฐานขั้นต่ำ)

แรกเกิด–>  วัคซีนป้องกันวัณโรค (BCG), วัคซีนไวรัสตับอักเสบบี เข็ม 1 (ฉีดมาตั้งแต่ที่ รพ.ที่เด็กคลอด)
อายุ 2 เดือน–>วัคซีน คอตีบ ไอกรน บาดทะยัก โปลิโอ ครั้งที่ 1, วัคซีนไวรัสตับอักเสบบี เข็ม 2
อายุ 4 เดือน–>วัคซีน คอตีบ ไอกรน บาดทะยัก โปลิโอ ครั้งที่ 2
อายุ 6 เดือน–>วัคซีน คอตีบ ไอกรน บาดทะยัก โปลิโอ ครั้งที่ 3, วัคซีนไวรัสตับอักเสบบี เข็ม 3
อายุ 9 เดือน–> วัคซีน หัด หัดเยอรมัน คางทูม ครั้งที่ 1
อายุ 1 ปี–>วัคซีน ไข้สมองอักเสบ (แบบดั้งเดิม) ครั้งที่ 1 และฉีดเข็มที่ 2 หลังจากเข็มแรก 2-4 สัปดาห์
อายุ 1 ปี 6 เดือน–>วัคซีน คอตีบ ไอกรน บาดทะยัก โปลิโอ ครั้งที่ 4
อายุ 2 ปี–> ไข้สมองอักเสบ (แบบดั้งเดิม) ครั้งที่ 3
อายุ 4 ปี–>วัคซีน คอตีบ ไอกรน บาดทะยัก โปลิโอ ครั้งที่ 5, วัคซีน ป้องกันวัณโรค (BCG) (ถ้ายังไม่พบว่ามีรอยแผลเป็น ณ ตำแหน่งที่เคยฉีดตอนแรกเกิด)
อายุ 5 ปี–>วัคซีน หัด หัดเยอรมัน คางทูม เข็ม 2
หลังจากนี้
ฉีดวัคซีน คอตีบ บาดทะยัก ทุก 10 ปี
ฉีดกระตุ้น วัคซีนไข้สมองอักเสบทุกๆ 5 ปี
วัคซีนแบบพิเศษ  (มีทั้งวัคซีนแบบพื้นฐานและวัคซีนนอกโปรแกรม ทั้งหมด)

แรกเกิด–>วัคซีนป้องกันวัณโรค (BCG) , วัคซีนไวรัสตับอักเสบบี เข็ม 1 (ฉีดมาตั้งแต่ที่ รพ.ที่เด็กคลอด)
อายุ 2 เดือน–>วัคซีน คอตีบ ไอกรน บาดทะยัก โปลิโอ ครั้งที่ 1, วัคซีนไวรัสตับอักเสบบี ครั้งที่ 2, วัคซีนเยื่อหุ้มสมองอักเสบ (ฮิบ) ครั้งที่ 1 ทั้งหมดรวมอยู่ในเข็มเดียวกัน เรียกว่า Infanrix Hexa, วัคซีนป้องกันโรคท้องร่วงชนิดกิน โรต้าไวรัส (Rotarix) ครั้งที่ 1, วัคซีนป้องกัน โรค IPD ครั้งที่ 1
อายุ 4 เดือน–>วัคซีน คอตีบ ไอกรน บาดทะยัก โปลิโอ ครั้งที่ 2, วัคซีนเยื่อหุ้มสมองอักเสบ (ฮิบ) ครั้งที่ 2 ทั้งหมดรวมอยู่ในเข็มเดียวกัน เรียกว่า Infanrix IPV Hib, วัคซีนป้องกันโรคท้องร่วง ชนิดกิน โรต้าไวรัส (Rotarix) ครั้งที่ 2, วัคซีนป้องกัน โรค IPD ครั้งที่ 2
อายุ 6 เดือน–>วัคซีน คอตีบ ไอกรน บาดทะยัก โปลิโอ ครั้งที่ 3, วัคซีนไวรัสตับอักเสบบี ครั้งที่ 3, วัคซีนเยื่อหุ้มสมองอักเสบ (ฮิบ) ครั้งที่ 3 ทั้งหมดรวมอยู่ในเข็มเดียวกัน เรียกว่า Infanrix Hexa , วัคซีนป้องกัน โรค IPD ครั้งที่ 3
อายุ 9 เดือน–> วัคซีน หัด หัดเยอรมัน คางทูม ครั้งที่ 1
อายุ 1 ปี –>วัคซีน ไข้สมองอักเสบ (แบบใหม่ คือ CD JE VACC) ครั้งที่ 1 และฉีดเข็มที่ 2 หลังจากเข็มแรก 3-12 เดือน, วัคซีนป้องกันอีสุกอีใส ครั้งที่ 1 และเข็ม 2 ห่างจากเข็มแรก มากกว่า 3 เดือน
อายุ 15 เดือน –> วัคซีนป้องกัน IPD เข็มที่ 4
อายุ 1 ปี 6 เดือน –>วัคซีน คอตีบ ไอกรน บาดทะยัก โปลิโอ ครั้งที่ 4
อายุ 2 ปี –>วัคซีนป้องกันไวรัสตับอักเสบ เอ ฉีด 2 เข็มห่างกัน 6 เดือน
อายุ 4 ปี –>วัคซีน คอตีบ ไอกรน บาดทะยัก โปลิโอ ครั้งที่ 5, วัคซีน ป้องกันวัณโรค (BCG) (ถ้ายังไม่พบว่ามีรอยแผลเป็น ณ ตำแหน่งที่เคยฉีดตอนแรกเกิด), วัคซีนไทฟอยด์ (มีทั้งแบบกินและแบบฉีด)
อายุ 5 ปี–>วัคซีน หัด หัดเยอรมัน คางทูม เข็ม 2
นอกจากนี้
วัคซีนป้องกันไวรัสไข้หวัดใหญ่ ฉีดปีละหนึ่งครั้ง โดยฉีดได้ตั้งแต่อายุ 6 เดือนขึ้นไป
ฉีดวัคซีน คอตีบ บาดทะยัก ทุก 10 ปี
ฉีดกระตุ้น วัคซีนไข้สมองอักเสบทุกๆ 5 ปี
ทั้งหมดที่ยกตัวอย่างมานี้เป็นเพียง ตัวอย่างแบบต่ำที่สุดและแบบสูงที่สุด หรือมากที่สุดเท่านั้น ในกรณีที่ คุณพ่อคุณแม่ต้องการชุดการฉีดที่อยู่ระหว่างกลางๆ คืออาจจะอยากได้วัคซีนพิเศษเพียงบางตัวไม่ใช่ทั้งหมด สามารถเรียนปรึกษาคุณหมอที่ท่านนำบุตรหลานไปฉีดวัคซีนด้วย ในรายละเอียดต่างๆอีกทีได้ครับ
Share this article :

Post a Comment

 
 
Support : | |
Copyright © 2014. บ้าน น้องโอห์ม - All Rights Reserved
Template Created by Published by
Proudly powered by Blogger